อนุทิน 171294


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

วิธีการที่ภาษาไทยก่อให้เกิดการแบ่งชั้นและดำรงไว้ซึ่งการแบ่งแยกทางสังคม ตอนที่ 1

ถึงแม้ว่าจะไม่เคยได้รับการศึกษาในประเทศไทย แต่ธัญญารัตน์ (ไม่ใช่ชื่อจริง) เติบโตขึ้นมาด้วยความเชื่อว่าเธอภาคภูมิที่จะเป็นไทย—โดยการเกิดและการเลี้ยงดู

อย่างไรก็ตาม ความคิดอันนั้นในไม่ช้าก็ถูกท้าทายในสัปดาห์แรกของการเรียนในวิทยาลัย

กระโปรงเรียบ, รองเท้าสีขาว, มัดผมเรียบร้อย, ตาโตพร้อมที่จะเรียนรู้ ท่ามกลางพวกปี 1 ที่แต่งตัวมาอย่างเธอทุกคน —เธอได้รับการแนะนำตัวว่าเป็นคนไทยในระหว่างการรับน้องใหม่

“นี่คือคณะ คณะเป็นเหมือนกับครอบครัว” เสียงต้อนรับของพวกปี 2 ระหว่างการประชุม “และในคณะนี้ เราต้องดูแลซึ่งกันและกัน รุ่นพี่จะช่วยดูแลรุ่นน้อง และช่วยแนะนำให้ประพฤติตัวในช่วงนี้”

ตอนนั้นเธอไม่มีความรู้ มาพร้อมกับเสียงรับน้องที่เข้ามาเรื่อยๆ และบางทีสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือกฎ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธัญญรัตน์ต้องต่อสู้ตลอด 4 ปีที่ต่อจากนี้

“ในครอบครัว เด็กรุ่นใหม่ต้องเคารพรุ่นที่แก่กว่า” ธัญญรัตน์ทบทวน “นั่นหมายความว่าฉันต้องทักรุ่นพี่ที่ฉันเจอในวิทยาเขตด้วยการไหว้ และเรียกพวกว่ารุ่นพี่ ถึงแม้ว่าจะแก่กว่าฉันแค่ปีเท่านั้น”

ในบางส่วน สิ่งนี้คือประเพณีที่เก่าแก่และมีลักษณะเฉพาะตน ที่บางครั้งมันจำเป็นต่อสมาชิกที่จะปฏิบัติ สำหรับธัญญรัตน์ นี่คือเขตแดนที่อนุญาตให้กลุ่มของคนแปลกหน้าที่ยังเป็นเยาวชนมีอำนาจเหนือเธอ แม้ว่าจะ “ไม่ทำอะไรเพื่อได้มันก็ตาม”

“ใน 2-3 อาทิตย์ของการรับน้อง ดูเหมือนว่าฉันต้องการจะตะโกน โดยเด็กที่แก่กว่าฉันไม่กี่ปี” ธัญญรัตน์ พูด “พวกเขาพยายามที่จะบอกว่าอะไรที่ควรทำ และพยายามจะให้ฉันเชื่อว่ารักคณะคือสิ่งดี, ไหว้พวกเขา, เคารพพวกเขา, และเรียกพวกเขาว่าพี่ ทั้งๆที่เข้ามาก่อนฉัน”

“ฉันพบว่านั่นไม่จำเป็น และน่ารำคาญ มันไม่มีความหมายอะไรกับฉัน ทุกๆคนเสมอภาคกับฉัน และนั่นก็เพียงพอแล้ว ฉันถูกประเมินว่าเป็นคนคิดต่าง และไม่ต้องการที่จะทำตามประเพณี”

แปลและเรียบเรียงจาก

Pear Maneechote. How Thai language reinforces hierarchy and perpetuates social divides.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท