อนุทิน 16960


นางสาววิภาภรณ์
เขียนเมื่อ

             การศึกษาแก้ปัญหาความยากจน

     ในสภาวะปัจจุบันนี้  ประเทศไทยได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี 2540 หรือในช่วงที่ เรียกว่ายุคฟองสบู่แตก ซึ่งเกิดจากวิกฤตการณ์นั้นส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนไทยเป็นจำนวนมาก นักธุรกิจหลาย ๆ คน ต้องประสบปัญหาความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจของประเทศ คนวัยทำงานอีกจำนวนมากต้องตกงาน ทำให้กำลังซื้อของคนในประเทศลดลง ธุรกิจอื่น ๆ อีกหลายประเภทต้องล้มเหลวจาเหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้ภาวะความยากจนเกิดขึ้นกับคนไทยเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้รัฐบาลจะพยายามหาทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจนี้ ทั้งการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน การกู้เงินจากต่างประเทศ ฯลฯ  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ ปัญหาความยากจนจึงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขเราจึงควรนิยามความยากจน
     การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การสืบสานทางวัฒนธรรม เมื่อความยากจนขัดสนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และในทางการเมืองประชาชนในประเทศของไทยส่วนใหญ่ยังความรู้ความเข้าใจและความสำนึกรับผิดชอบในทางการเมือง ในเรื่องของวัฒนธรรมประชาชนในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันตกที่เข้ามาตั้งแต่ในช่วงของพัฒนาตั้งปี พ.ศ. 2504 ที่เราเริ่มได้นำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก ซึ่งได้ก่อปัญหาเก่าไว้มากมาย   เราจึงจะมองเห็นภาพความยากจนซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมอย่างเป็นองค์รวม และสามารถวิเคราะห์สาเหตุของความยากจน ซึ่งมีที่มาทั้งจากปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบของปัญหาความยากจนต่อการพัฒนาสังคมโดยรวม และแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างถูกต้องหรือใกล้เคียงความเป็นจริงได้มากขึ้น การทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในเมือง ให้ระบบเศรษฐกิจนั้นดีขึ้น  ให้ทำมาหากินดีขึ้นนั้น  คนที่จะทำมาหากินก็จะต้องมีพื้นฐานที่ดีมากพออยู่แล้วถึงจะทำได้ เรียกว่าต้องมีเครดิต จะมีวิชาเป็นเครดิต หรือจะเงินเป็นเครดิตก็ตาม  แต่คนที่ขาดทั้งวิชาความรู้ ขาดทั้งทรัพย์สินเงินทองหรือที่ดินหรือขาดอะไรทั้งหมด  ก็ยากที่จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง หรือทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น  นั่นคือวิชาความรู้และเงินเป็นสิ่งที่จะช่วยในการทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น อันจะส่งผลต่อการแก้ปัญหาความยากจน
การศึกษากับการแก้ปัญหา
รัฐบาลควรดำเนินการ เช่น การกระจายรายได้ให้แก่ชาวชนบทตามโครงการกองทุนหมู่บ้าน  การสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือช่วยเหลือด้านสาธารณะสุขเช่นโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
การให้การศึกษาในระบบโรงเรียน ก็จะทำให้เยาวชนรุ่นใหม่เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพตามเป้าหมายเยาวชนเหล่านี้ก็จะสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้และหลุดพ้นจากความยากจน  สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้  ส่วนการศึกษานอกระบบ ก็จะสามารถส่งเสริมให้คนทุกรุ่นทุกวัยได้รับการศึกษาและสามารถสืบค้นความรู้ด้วยตนเองอันจะนำไปสู่การพัฒนางานอาชีพของตน ก็จะขจัดความไม่รู้เท่าทันสังคมโลก รู้จักปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานและพัฒนางานของตนให้ดีขึ้น เมื่องานดีขึ้นก็ย่อมจะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความยากจนได้เอง 

บทสรุป
     จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาความยากจนนั้นสามารถทำได้ ซึ่งหากนำการศึกษาไปใช้ในการสอนเยาวชนให้มีความรู้เพื่อให้อีก 10 – 20 ปี ข้างหน้าเยาวชนเหล่านี้จะมีงานทำและไม่ยากจน  หรือการจัดอบรมอาชีพ แต่หากรัฐบาลจะให้การศึกษาเกิดประโยชน์สูงสุดในการแก้ปัญหาความยากจนแล้วก็ควรระดมนักวิชาการจากหน่วยงานของรัฐมาร่วมกันแก้ปัญหาและสามารถดำเนินการแก้ปัญหาไม่ใช่ดำเนินการจัดหางานให้ประชาชนเท่านั้นซึ่งอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน 
ที่สำคัญในฐานะที่เราเป็น ครูหรือเจ้าหน้าที่ เราสามารถช่วยเหลือให้บุคคลที่มีความรู้ สามาถนำความรู้ไปต่อสู้ในสภาพแวดล้อมได้  รวมทั้งหากเราสามารถเผื่อแผ่ให้ความรู้กับผู้ปกครองและชุมชนที่อยู่รอบข้างของสังคมและท้องถิ่น


                   หนังสืออ้างอิง
     ชนิตา  รักษ์พลเมือง , ผศ.ดร.  “การศึกษาเพื่อพัฒนา”  โครงการตำรา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย  2527 : 327.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท