อนุทิน 168066


Puwadol Khuntham
เขียนเมื่อ

ปฏิบัตินิยม (Pragmatism) คือ ทัศนะทางปรัชญาที่ให้ความสำคัญแก่ความรู้และความเป็นจริง สิ่งใดที่เรียกว่าจริงได้ต้องเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์บรรลุจุดมุ่งหมายของชีวิตและช่วยพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น หรือเป็นประโยชน์ต่อชีวิต สิ่งนี้เรียกว่า “ประสบการณ์” (Experience) และประสบการณ์นี้ถึงจะเป็นจริงแต่ก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ไม่ตายตัวและให้ความสำคัญแก่ความรู้เชิงอุปนัย (Induction) คือ ความรู้ที่เกิดจากการสะสมข้อเท็จจริงที่ได้จากการมีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาระยะหนึ่งด้วยนิสัยและความเคยชินว่าธรรมชาติจะต้องเหมือนเดิมเสมอ ตัวอย่างเช่น “ชิมลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิมาหลายครั้ง พบว่าอร่อยดี จึงสรุปว่า ลิ้นจี่พันธุ์นี้ต้องหวาน” มากกว่าความรู้เชิงนิรนัย (Deduction) คือ ความรู้ที่เกิดจากความจริงทั่วไปที่ทุกคนเข้าใจว่าจริงแท้แน่แล้วตัวอย่างเช่น “ผมรู้มาก่อนแล้วว่า ลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิหวาน (คนทั้งประเทศก็รู้เช่นเดียวกัน) พอผมรู้ว่า กองลิ้นจี่ที่เห็นวางขายอยู่นี่ เป็นพันธุ์จักรพรรดิ ผมก็สามารถมั่นใจได้เลยว่า กองลิ้นจี่นี่ต้องมีรสหวานแน่ (แม้ว่าผมยังไม่ได้ชิมลิ้นจี่เลยก็ตาม)” กล่าวคือ ถือว่าความรู้เชิงอุปนัยมีน้ำหนักมากกว่าความรู้เชิงนิรนัย ดังนั้น ลัทธิปฏิบัตินิยม อาจสรุปความหมายได้ว่า ความรู้และความจริงที่เป็นประสบการณ์ มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ตายตัว คือสิ่งที่เป็นประโยชน์นำมาปฏิบัติให้ผลที่เราพึงพอใจได้ สาระสำคัญของปรัชญาลัทธิปฏิบัตินิยมแบ่งออกเป็น 3 สาขาคือ1. ภาววิทยา ความเป็นจริง สภาวการณ์ที่มีอยู่ เป็นอยู่ ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่มนุษย์เลือกและกำหนด2. ญาณวิทยา ความรู้ ไม่ใช่สิ่งที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เป็นผลแห่งการเลือกของบุคคลแต่ละคน3. คุณวิทยา จริยธรรม เป็นเสรีภาพของแต่ละคนที่เลือกปฏิบัติสุนทรียภาพ อยู่ที่ความพอใจและการเลือกของแต่ละคนโดยไม่ยึดถือจารีตประเพณี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท