อนุทิน 167879


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

โคโรนาไวรัสและประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนที่ 2

ในวันพฤหัสบดี ประเทศไทยประกาศสภาวะฉุกเฉินเพื่อจัดการกับวิกฤตการณ์สาธารณสุข อย่างไรก็ตาม การห้ามการรวมกลุ่มกันเป็นมาตรการสะดวกสบาย ที่ป้องกันการคัดค้าน และเป็นประเด็นการปฏิรูปประเทศ การประท้วงตามวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบในเดือนมกราคม ปี 2020 เป็นผลกระทบความไม่พอใจในหมู่เยาวชน ตอนนี้การห้ามไม่ให้รวมตัวกันจะประสบความสำเร็จในตอนนี้ การแสดงความคิดแบบอิสระโดยสื่อจะถูกจำกัดโดยประกาศสภาวะฉุกเฉิน ที่รัฐบาลจะห้ามการวิพากษ์วิจารณ์

โดยนัยยะเดียวกันในฟิลิปปินส์ วันที่ 24 มีนาคม ประธานาธิบดีดูแตร์เต ประกาศอำนาจฉุกเฉินในการสู้กับโควิท 19 สิ่งนี้กลายมาเป็นความโน้มเอียงในใจรักเผด็จการของเขา สภานิติบัญญัติจะผ่านร่างพ.ร.บ.เพื่อการใช้อำนาจที่เกินปกตินี้ ซึ่งทำให้เกิดความกลัวกันถ้วนหน้า แต่ประวัติของการไม่ให้เกียรติแก่สิทธิมนุษยชนของดูแตร์เตไม่ได้ลดลงเลย

ในกัมพูชา โควิท 19 เปิดโอกาสให้นายกฯฮุน เซน มีโอกาสในการใช้มาตรา 22 ในรัฐธรรมนูญเพื่อประกาศให้ประเทศอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ในขณะที่ชาวกัมพูชาและนักกิจกรรมฝ่ายค้านต่างถูกจับเพราะแสดงความห่วงใยเรื่องไวรัสในสื่อทางสังคมออนไลน์

ในมาเลเซีย รัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งปี 2018 ล้มเหลวในเดือนมกราคมปีนี้ การประกาศคำสั่งควบคุมแบบเข้มงวด แรกเริ่มเดิมทีจะใช้จนถึงมีนาคม 31 แต่ถูกใช้ต่อจนถึงวันที่ 14เมษายน สิ่งนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกอนุรักษ์นิยมพรรคอัมโนมีเวลาในการรวบอำนาจ เพราะการประท้วงถูกยกเลิก ในการนี้ความกดดันของประชาชนที่มีอยู่เหนือรัฐบาลแบบลับๆจะมีมากขึ้น

แปลและเรียบเรียงโดย

James Gomez และ Robin Ramcharan. Coronavirus and democracy in Southeast Asia



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท