อนุทิน 167283


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ศาลรัฐธรรมนูญไทย, ความขัดแย้งหลักของประชาธิปไตยไทย ตอนจบ

สำหรับสำนักกษัตริย์นิยม คำว่าประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หมายถึงกษัตริย์มีบทบาทพิเศษ และมีสถานภาพในสังคมไทย สถานพิเศษทำให้กษัตริย์แสดงบทบาทได้ในช่วงวิกฤต เช่น ในกรณีที่กษัตริย์ปฏิบัติตามทศพิธราชธรรม มีนัยยะว่านี่คือรัฐธรรมนูญฉบับพุทธะ

อันดับสามศาลได้ใช้สังกัป “ประเพณีรัฐธรรมนูญ” การถกเถียงจะอยู่ในมาตรา 5 ย่อหน้าที่ 2 ในรัฐธรรมนูญไทย ในเรื่องประเพณีรัฐธรรมนูญไทยในประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ศาลให้นิยาม ประเพณีดังกล่าวจะต้องถูกปฏิบัติ เพราะว่านับถือกันมานานแล้วว่าเป็นเรื่องดี ความพยายามที่จะนิยามประเพณีที่มีคุณค่ามีความใกล้เคียงกับกฎหมายนาๆชาติ การดำรงอยู่ของประเพณีนี้ก็เพราะมันเป็นเรื่องดี

ศาลได้นิยามประเพณีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น หลักการที่กษัตริย์อยู่เหนือการเมือง เพราะได้ปฏิบัติตามทศพิธราชธรรม นั่นเอง

บทสรุป

ศาลรัฐธรรมนูญไทยเป็นพวกเดียวกับทหาร เป็นผู้เล่นเชิงยุทธวิธีในการขยายการเอาตัวรอด, ชื่อเสียงเกียรติยศ, และอำนาจ การเล่นเชิงยุทธวิธีเรื่องการเน้นแต่เรื่องอนุรักษ์ที่เห็นผลประโยชน์กับตนเอง ไม่สามารถอธิบายได้ถึงการร่วมมือกันระหว่างศาลและทหารได้ แต่ปัจจัยต่างๆในเชิงอุดมการณ์ เล่นบทบาทหลักในความโน้มเอียงระหว่างศาลกับทหารว่ามีความร่วมมือกัน นี่เป็นหน้าที่หนึ่งในสังกัปเรื่องประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งมีนัยยะของรากเหง้าเดียวกันระหว่างศาลและทหาร แต่ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจะขัดแย้งกับสังกัปเรื่องนิติรัฐ (Rule of Law)

แปลและเรียบเรียงจาก

Eugenie Merieau. Thai Thai Constitutional Court, a Major Threat to Thai Democracy.

https://prachatai.com/english/node/8065



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท