อนุทิน 167021


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การถอนรากประชาธิปไตย: สงครามแห่งความทรงจำ และมรดกที่หายไปของคณะราษฎร ตอนที่ 3

หมุดคณะราษฎรเป็นแผ่นวงกลมทำจากทองเหลือง ฝังอยู่หน้าพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ที่กำลังทรงม้า ในหมุดเขียนว่า “ที่ตรงนี้ ในย่ำรุ่งวันที่ 24 มิถุนายน ปี 1932 (พ.ศ. 2475) คณะราษฎรได้นำรัฐธรรมนูญเพื่อความสวัสดีของชาติ” การติดตั้งในวันที่ 10 ธันวาคม ปี 1936 (พ.ศ. 2479) มีพระยาพหลฯเป็นประธานในพิธี

หลังจากการปฏิวัติ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยยังถูกสร้าง ไม่เพียงแต่กรุงเทพฯเท่านั้น แต่ยังกระจายไปรอบๆจังหวัดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญกระจายไปตามจังหวัดต่างๆอีกด้วย

ศรัญญู เทพสงเคราะห์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ และเป็นผู้เขียนเรื่องประชาธิปไตยของราษฎร (People-ocracy) : การเมือง, อำนาจ, และความทรงจำของคณะราษฏร กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เป็นความทรงจำส่วนใหญ่เกิดในภาคอีสาน เพราะผู้แทนของคณะราษฎรแสดงบทบาทอันโดดเด่นของยุคสมัย และพลเมืองมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง

จากบันทึกของสิบโท สุพรรณ อนันตโสภณ บรรยายความรู้สึกของพลเมืองในอุดรธานี ในวันที่ 24-27 มิถุนายน ปี 1932 (พ.ศ. 2475) ว่าประชาชนฟังข่าวทางวิทยุอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่มีความคิดเกี่ยวกับการปกครองระบอบใหม่นี้ก็ตาม พวกเขารู้ว่าตอนนี้กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย พลเมืองมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน เจ้าหน้าที่รัฐก็เหมือนกับลูกจ้างของพลเมือง ที่มีหน้าที่ในการช่วยเหลือบำบัดทุกข์ให้แก่ราษฎร และทำความสุขให้แก่ประชาชน

ในปี 1933 (พ.ศ. 2476) เกิดกบฏเดชขึ้น คนอีสานมีความกระตือรือร้นทั้งในส่วนของคณะราษฎร และคนที่ต่อต้านมัน ถึงแม้ว่ากองกำลังทหารมีฐานที่มั่นที่ภาคอีสาน เพราะเจ้าชายบวรเดชทำหน้าที่ผู้บัญชาการที่นครราชสีมา แต่ประชาชนทางภาคอีสานกลับช่วยเหลือคณะราษฎรเพื่อต้านพวกกบฏ

แปลและเรียบเรียงจาก

Anna Lawattanatrakul. Uprooting Democracy: The War of Memory and the Lost Legacy of the People’s Party.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท