อนุทิน 166238


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

“พวกเราพยายามที่จะไม่เป็นไทย”: การต่อต้านของชนกลุ่มน้อยที่ได้ยินทุกวัน ตอนที่ 5

ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประชาชน Maniq ได้รับความทุกข์อย่างใหญ่หลวงจากน้ำมือของคนภายนอก มีคำอยู่ 2 คำในภาษาของเขา ซึ่งคนอาจเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เมื่อต้องใช้พวกมัน นั่นคือ Maniq = พวกเนรา และ Hamiq = พวกเขา “เธออาจอยู่ในป่าหรืออยู่ในเมือง Maniq หรือ Hamiq” คนพูด (the speaker)ที่ชื่อ Kai บอกฉัน (บทบาทของผู้พูดในสังคม Maniq คือผู้สื่อสาร หรือผู้พูดของกลุ่ม) เนื่องจากว่าสังคมนี้เป็นสังคมไม่มีชนชั้น ผู้พูดจึงไม่ใช่ผู้นำ จริงๆแล้วผู้พูดคือคนที่ฟังจากคนรอบข้าง และสื่อสารสิ่งที่เห็นพ้องร่วมกันว่าเป็นความเห็นของกลุ่ม (consensus)

ประเด็นสำคัญในการอยู่รอดของ Maniq ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันคือการอยู่แบบเร่ร่อน (flight reflex) นั่นคือพวกเขาใช้เวลาเป็นพันๆปีในการออกห่างจากสังคมแบบตั้งถิ่นฐาน (settled society) และเป็นที่รู้กันว่าพวกเขาระแวงคนภายนอก แต่ทุกวันนี้ วิถีชีวิตแบบเร่ร่อน ที่มันเกี่ยวข้องการไม่มีสังกัปของทรัพย์สินส่วนตัวขัดแย้งกับระบบกฎหมายไทยอย่างรุนแรง การขาดบัตรประชาชนอยู่คู่ขนานกับราชการแบบรัฐอันยิ่งใหญ่ของไทย (great state bureaucracy) ในขณะที่ความสันโดษและไม่ยุ่งกับใครทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการแสวงหาผลประโยชน์จากคนตัดไม้ที่ผิดกฎหมาย และคนขโมยจับสัตว์ในที่ของผู้อื่น ไร่และเกษตรกรรมรุกรานวิถีชีวิตของชาว Maniq มาตลอด และการรุกที่นั้นมีขนาดมหึมา

James C. Scott แสดงให้เห็นว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางประวัติศาสตร์แล้ว การสร้างรัฐมิใช่เป็นสิ่งง่าย หลักฐานที่หายไปในประวัติศาสตร์เรื่องการเป็นรัฐเห็นได้ชัดเจนในพื้นล่าง (lowlands) ของประเทศไทย ที่ซึ่งเกือบทุกส่วน เช่นจังหวัดนอกกรุงเทพฯ ยังมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง (distinct dialect) หรือมีภาษาที่แตกต่างกัน เช่น จังหวัดที่มีคนชนบทอยู่อย่างสุรินทร์ (450 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) พูดถึงภาษาถึง 4 ภาษา ได้แก่ เขมร, ลาว, สุรินทร์, และภาษาที่ใหม่ที่สุด คือ ไทย คนแถบสุรินทร์ยังมีการประพฤติทางศาสนา และมีวัฒนธรรม ที่ไม่พบในวัฒนธรรมไทยส่วนหลัก (ภาคกลาง?)

แปลและเรียบเรียงจาก

Garbriel Ernst “We try to not be Thai”: the everyday resistance of ethnic minorities



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท