อนุทิน 166213


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

“พวกเราพยายามที่จะไม่เป็นไทย”: การต่อต้านของชนกลุ่มน้อยที่ได้ยินทุกวัน ตอนที่ 3

การต่อรอง

แม้กระทั่งทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่รัฐบางคนยังไม่ค่อยกล้าเข้าไปในหมู่บ้าน Lisu มีเรื่องราวหลายเรื่องที่เจ้าหน้าที่ถูกคุมตัวโดยชาวบ้านผู้โกรธเคียง สาเหตุมาจากความขัดแย้งเรื่องสิทธิในที่ดิน ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวว่า “มันเคยเกิดขึ้นมาก่อน” “คน Lisu ออกมาพร้อมกับมีดและกระบอง และพวกเจ้าหน้าที่รัฐต่างต่อรองเพื่อการปล่อยตัว

เยาวชนหญิงคนหนึ่งของ Lisu ที่ไม่ต้องการเปิดเผยชื่อ บรรยายถึงความเกี่ยวข้องของรัฐไทยในชีวิต Lisu คือการต่อรอง “พวกเรายอมรับบางสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐนำเสนอให้ เช่น โรงเรียน, โรงพยาบาล, และวัด แต่พวกเรายังเป็น Lisu แต่การขัดขืนเราอยู่ที่บ้านและในชุมชน ซึ่งเรายังคงดำเนินตามประเพณี และดำรงชีพได้ด้วยตัวเอง และเราไม่ได้กลืนกลายแต่อย่างใด” คนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกว่ารัฐบาลมีอำนาจเหนือพวกเขาเลย

ในทางภาคเหนือ หนึ่งในบรรดาสิ่งที่ทรงอานุภาพมากที่สุดของเครื่องไม้เครื่องมือของรัฐคือโครงการพระราชดำริ (The Royal Project) ที่ไม่ก่อให้เกิดคำถามใดๆ โครงนี้เปิดตัวในช่วงปลายปี 60 มีจุดมุ่งหมายในการแทนที่การปลูกฝิ่นโดยชาวเขา หันมาปลูกผลไม้และผักแทน ผลผลิตคือเพื่อโครงการและได้ขายโดยบริษัทของรัฐทั่วราชอาณาจักร ปล่อยให้ชุมชนที่ต้องพึ่งรัฐไม่สามารถมีความเป็นอยู่ที่ดีในเชิงวัตถุเลย

แปลและเรียบเรียงจาก

Garbriel Ernst “We try to not be Thai”: the everyday resistance of ethnic minorities.



ความเห็น (2)

lisu อยู่ระหว่างจังหวัดอะไรครับทางภาคเหนือ..มีวัฒนธรรมอย่างไร

น่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่มากทางภาคเหนือครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท