อนุทิน 166195


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

“พวกเราพยายามที่จะไม่เป็นไทย”: การต่อต้านของชนกลุ่มน้อยที่ได้ยินทุกวัน ตอนที่ 2

ตามถนนสายนี้จะมีสำนักงานรัฐบาลอยู่ที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่น สำนักงานนี้ถูกสร้างมาประมาณ 20 ปี มันเป็นการปรากฏของการปกครองแบบเป็นทางการอันแรกสำหรับผู้คนในท้องถิ่น “เมื่อฉันเป็นเด็ก เราดำรงชีวิตโดยปราศจากโรงพยาบาล, โรงเรียน, หรือแม้แต่รัฐบาล” Katima บอกฉัน ทุกวันนี้สำนักงานมีธงชาติ และภาพวาดที่หมายถึงระบอบกษัตริย์และรัฐชาติ คนที่ทำงานในนั้นไม่ใช่คนท้องถิ่น แต่เป็นคนไทยที่มาเพื่อปกครองชนกลุ่มน้อย Lisu ครูในโรงเรียนก็เหมือนกัน เพราะครูสอนแต่หลักสูตรแห่งชาติ มีความพยายามที่จะสร้างวัดพุทธขึ้นมาในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการแทนที่ และส่งเสริมแนวคิดแบบเชื่อผีที่ได้รับความศรัทธาและปฏิบัติโดยคนท้องถิ่น

การขยายตัวของรัฐเป็นแผนการที่ตรงและชัดเจนมากขึ้น มันเริ่มตั้งแต่นโยบายศตวรรษที่ 20 ในการทำให้ทุกอย่างเป็นไทย (thaification) ซึ่งสร้างขึ้นโดยรัฐบาลกลาง เริ่มต้นที่ปี 1933 (พ.ศ. 2476) เผด็จการแปลก พิบูลสงครามกำกับการยกเครื่องชาตินิยมในหมู่ประชาชนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชนกลุ่มน้อย นโยบายที่เห็นได้ชัดคือการยัดเยียดภาษาไทยไปสู่ระบบการศึกษา นอกจากนี้ยังใส่รัฐนิยม 12 ประการซึ่งบงเป็นคำแนะนำสำหรับความประพฤติความเป็นไทยที่สมบูรณ์ หรือวิถีชีวิตที่ดีและความเป็นสมบัติผู้ดี

แปลและเรียบเรียงจาก

Garbriel Ernst “We try to not be Thai”: the everyday resistance of ethnic minorities.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท