อนุทิน 166140


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ทฤษฎีการรับรู้ภาษาที่สองของ Stephen Krashen ตอนจบ

บทบาทของไวยากรณ์ในมุมมองของ Krashen

ตามหลักการของ Krashen การศึกษาโครงสร้างของภาษามีข้อได้เปรียบในการศึกษาโดยทั่วไป และให้ค่ากับการเรียนในระดับมัธยม และวิทยาลัยอาจนำโครงสร้างไปใส่ไว้ในหลักสูตรทางภาษาของเขา อย่างไรก็ตาม หากจะได้ผลได้ดีขึ้นก็ขึ้นอยู่กับผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับภาษานั้นมากน้อยขนาดไหน แต่ที่สมควรเตือนไว้ก็คือ การวิเคราะห์ภาษา, การสร้างกฎเกณฑ์, การนำข้อยกเว้นในภาษาออกไป, และการสอนข้อเท็จจริงที่ซับซ้อนในภาษาที่กำลังสอนไม่ใช่การสอนภาษา แต่เป็นการซาบซึ้งภาษา (language appreciation) หรือภาษาศาสตร์มากกว่า ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสื่อสารเลย (communicative proficiency)

มีเหตุผลในการสอนไวยากรณ์ในการรับรู้ภาษาเพียงประการเดียว นั่นคือ นักรเรียนสนใจในวิชา และภาษาที่กำลังเรียนมีการใช้ในลักษณะที่เป็นการสื่อสารเท่านั้น บ่อยครั้ง เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเชื่อว่าการศึกษากฎไวยากรณ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรับภาษาที่สอง และตัวครูต้องมีทักษะประเภทอธิบายโครงสร้างจนนักเรียนเข้าใจ หรือหากกล่าวในอีกแง่ การสอนของครูเป็นตัวป้อนที่ยกระดับภาษา (comprehensible input) และในบางครั้ง หากนักเรียนเข้าร่วม ชั้นเรียนก็จะกลายมาเป็นบรรยากาศที่เหมาะสมกับการรับรู้ภาษา แน่นอนว่าความรู้สึกนึกคิดของเด็กจะต่ำลง เพราะไปสนใจแต่คำอธิบาย

แปลและเรียบเรียงจาก

Ricardo E. Schutz. Stephen Krashen’s Theory of Second Language Acquisition

https://www.sk.com.br/sk-krash-english.html

ครูบ้านนอก. สมมติฐาน 5 ประการของ Stephen Krashen. ตอนที่ 1

https://www.gotoknow.org/posts/203447



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท