อนุทิน 166111


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ทฤษฎีการรับรู้ภาษาที่สองของ Stephen Krashen ตอนที่ 5

  1. สมมติฐานว่าด้วยการรับภาษาแบบธรรมชาติ (the nature order hypothesis)

สมมติฐานนี้คือการรับภาษาแบบธรรมชาติที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งมาจากการศึกษา ที่เสนอว่าการรับโครงสร้างทางไวยากรณ์จะเป็นไปตามลำดับก่อนหลังที่สามารถพยากรณ์ได้ เช่น ในภาษาหนึ่งๆ บางโครงสร้าง เรารับรู้ได้ในตอนต้น แต่บางโครงสร้างก็มาทีหลัง ลำดับขั้นการได้โครงสร้างเป็นอิสระจากอายุของผู้เรียน, พื้นฐานทางภาษาที่ 1 ของผู้เรียน, สภาพแห่งการพอเจอ (exposure) ถึงแม้ว่าความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคลจะไม่ถึง 100% ในการศึกษา แต่ก็มีสถิติในการยืนยันถึงลำดับขั้นเรื่องไวยากรณ์ในภาษาต่างๆ

จากงานวิจัยของ Heidi Dulay และ Marina Burt เรื่องการรับรู้หน่วยของภาษา (morpheme) ของเด็กที่เรียนภาษาอังกฤษแบบ L1 และ L2 ผลปรากฏดังนี้

ภาษาอังกฤษภาษาแม่ ได้อันดับ 1

Morpheme = Progressive (-img)

ตัวอย่าง = He is talking

ภาษาต่างประเทศ ได้อันดับ 3

อย่างไรก็ตาม Krashen เสนอว่าถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานอันเชื่อได้ว่าการเรียงลำดับจะเป็นไปตามขั้นตอน แต่หลักสูตรไม่สมควรจะตามลำดับขั้นอย่างในการศึกษา ในความเป็นจริงแล้ว เขาปฏิเสธการเรียงลำดับโครงสร้าง ในเมื่อเราพูดถึงการรับภาษาเป็นจุดมุ่งหมายหลัก

แปลและเรียบเรียงจาก

Ricardo E. Schutz. Stephen Krashen’s Theory of Second Language Acquisition

ครูบ้านนอก. สมมติฐาน 5 ประการของ Stephen Krashen. ตอนที่ 1



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท