อนุทิน 16456


กวิน
เขียนเมื่อ

สวัสดีครับคุณหมอ มัทนา  @16428 ขอบคุณสำหรับข้อมูลว่าด้วยเรื่อง ปักษีวิทยา (Ornithology) เกี่ยวกับนกเงือก (hornbill) ครับ  สรุปว่า

สมมติฐานของมัทคือเจ้าฟ้ากุ้งท่านเขียนประชดประชันอะไรบางอย่าง เขียนให้เป็นตรงข้ามไปหมด? (ตอนแรกคิดว่าหรือว่าดูสีนกแล้วเข้าใจเมียเป็นผัวผัวเป็นเมียแต่มามีเรื่องชู้ด้วยนี่คงเป็นการตั้งใจเขียนให้ตรงข้ามความจริงรึเปล่าไม่ทราบเหมือนกันค่ะ)

คุณหมอเชื่อว่าเจ้าฟ้ากุ้งท่านใช้โวหาร การกล่าวถึงความขัดกันเข้าคู่กัน หรือ ปฏิภาคพจน์ (Paradox) สินะครับ สมมติว่าผู้คนในสมัยอยุธยาเขามีความรู้เรื่อง ปักษีวิทยา เกี่ยวกับนกเงือก ข้าราชบริภารก็ต้องทักท้วงเจ้าฟ้ากุ้ง แล้วนะครับว่า หามิได้พระพุทธเจ้าข้า นกเงือกตัวเมียฟักไข่ และตัวผู้ออกไปหาอาหาร อีกทั้งนกเงือกเป็นนกที่รักเดียวใจเดียว พระพุทธเจ้าข้า  การที่เจ้าฟ้ากุ้งทรงแต่งกาพย์ห่อโคลง  โดยใช้ ปฏิภาคพจน์ ก็คงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้คนอ่านฉุกคิดเรื่อง รักเดียวใจเดียว กระมังครับ เพื่อที่จะได้ไม่อายนกเงือก อนึ่งกาพย์ห่อโคลงที่เราคุ้นหูของเจ้าฟ้ากุ้ง อีกบทหนึ่งก็คือ กลบทเลื่อนลำ ขอยกมา ลปรร. ไว้ ณ ที่นี้นะครับ

กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง


ดูหนูสู่รูงู         งูสุดสู้หนูสู้งู
หนูงูสู้ดูอยู่       รูปงูทู่หนูมูทู ฯ   (กลบบทกาพย์เลื่อนลำ)  

ดูงูขู่ฝูดฝู้        พรูพรู  
หนูสู่รูงูงู         สุดสู้ 
งูสู้หนูหนูสู้      งูอยู่
หนูรู้งูงูรู้         รูปทู้มูทู ฯ  (กลบทโคลงบาทเลื่อนลำ) 

ปล.ขอนำ คคห. ของคุณหมอ ไปเพิ่มลงในบทความเพื่อเป็นวิทยาทาน นะครับ คุณหมอจะอนุญาตหรือไม่ครับกระผม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท