อนุทิน 161085


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

แน่นอนนิยายบู๊เฮี้ยบย่อมมิอาจขาดบทบู๊ แต่ทว่ารูปแบบการบรรยายบทบู๊ สมควรจะเปลี่ยนแปลงกันบ้างหรือไม่

—เต้าหยิน (นักพรตเต๋า) ผู้นั้นพุ่งกระบี่ออก เพียงเห็นประกายวูบวาบ รังสีกระบี่แผ่ครอบคลุม พริบตาเดียวพลันใช้กระบวนท่าออกไปถึงเจ็ดเพลง นับเป็นแก่น “เพลงกระบี่สองผู้พิทักษ์ธรรม” ของสำนักบู๊ตึ้ง กระบวนท่าแปรเปลี่ยนพิสดารล้ำลึก สุดที่จะบรรยาย—

—บุรุษร่างใหญ่คำรามเสียงโกรธแค้น ก้าวออกมาเพียงครึ่งก้าว เคลื่นมือออกไปประดุจอสนีบาต กระบวนท่าเดียวก็ชิงเอากระบี่ของฝ่ายตรงข้ามเข้ามาได้ เพียงบิดเบาๆ กระบี่ยาวซึ่งทำด้วยเหล็กกล้าหลอมตีถึงร้อยครั้ง ก็ถูกบุรุษผู้นั้นหักออกเป็นสองท่อน—

การบรรยายฉากบู๊ตามหลักวิทยายุทธ์แบบของกลุ่ม (นักเขียนสาย) เจิ้งเติ้งอิน การบรรยายฉากบู๊ให้มีเสน่ห์ด้วยความลึกลับและพิสดารของกลุ่ม (นักเขียนสาย) หวนจูโหล่วจู่…เหล่านั้น แน่นอนว่ามันตกขบวนแถวไปแล้ว แต่ทว่าคำบรรยายดั่งที่ข้าพเจ้าเขียนในย่อหน้าข้างต้นนั้น บรรดานักอ่านได้ผ่านตามาแล้วไม่รู้สักกี่เที่ยว?

ควรจะเขียนบรรยายบทบู๊กันอย่างไร นับเป็นปัญหายากเย็นของนิยายบู๊เฮี้ยบอย่างแท้จริง

จาก “ว่าด้วยบู๊เฮี้ยบ”

มังกรโบราณ เขียน

โชติช่วง นาดอน แปล



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท