อนุทิน 16088


กวิน
เขียนเมื่อ

สวัสดีครับคุณหมอ มัทนา @16086  เคยได้ยินกลอนนี้นานแล้ว จาก พอ.นพ.พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา แต่จำไม่ได้ว่าใครแต่ง พอดีวันนี้ค้นกลอนเกี่ยวกับงานไหว้ครู นศพ.  (24 ก.ค. 2551) พบว่ากลอนบทนี้ แต่งโดย รศ.นภาลัย (ฤกษ์ชนะ) สุวรรณธาดา ส่วนตัวที่บ้านผมก็ไม่ได้จัดงานวันคล้ายวันเกิดครับ ถ้าถึงวันคล้ายวันเกิดของผม แม่ หรือไม่ก็ยาย (สมัยที่ยายยังมีชีวิตอยู่) ก็จะปลุกให้ลุกตื่นแต่เช้า เตรียมใส่บาตร ถ้าตรงกับวันพระ พวกท่านก็จะพาไปวัด ตอนโตขึ้น รู้สึกว่าทำใมที่บ้านเรา ไม่จัดงานวันเกิดกะเขาบ้างหนอ พอโตขึ้นอีกหน่อยได้ฟังกลอน ของอาจารย์ นภาลัย ก็จึงเข้าใจความคิดของผู้หลักผู้ใหญ่

ปล. คิดว่าเนื่องจากท่านอาจารย์ นภาลัย ท่านเป็น ผู้หญิงและเมื่อผู้หญิงแต่งกลอน ก็จึงสะท้อนภาพ ความลำบากในการอุ้มท้อง ความลำบากในการคลอด ความลำบากในการเลี้ยงดูลูกน้อย สู่ผู้อ่านได้อย่างลึกซึ้งกินใจ แต่โดยบริบทของกลอนแล้ว ก็คือ ในวันคล้ายวันเกิด ควรเป็นวันที่เราควรระลึกถึงผู้ให้กำเนิด ถ้าผู้ให้กำเนิด ชีวิตหาไม่แล้ว ก็ควรระลึกนึกถึงผู้มีพระคุณในลำดับถัดไปเช่น ปู่ย่าตายาย พี่ (ชาย พี่สาว) ป้าน้าอา ผู้ที่อุปถัมภ์ค้ำชูเลี้ยงดูเรามา นะครับ พูดถึงเรื่องนี้แล้วนึกถึง จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ว่า

"เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงินได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดังบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม" (จากหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ 1)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท