อนุทิน 160594


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

สภาพแวดล้อมทางสังคมในช่วงปลายราชวงศ์ชิง โดยพื้นฐานแล้วไม่ปลุกเร้าให้คน (อยาก) เป็นวีรชน บุคคลประเภทเรียบๆ ซื่อๆ หนักแน่นต่างหาก จึงเป็นแบบอย่างที่คนทั่วไปยกย่องว่าดี

นิยายบู๊เฮี้ยบก็เฉกเช่นเดียวกับนิยายประเภทอื่น มันย่อมได้รับอิทธิพลผลสะเทือนจากค่านิยมความเคยชินในสังคม ดังนั้น จากนิยายบู๊เฮี้ยบเล่มหนึ่ง ก็มิยากที่จะมองเห็นฉากหลังทางสังคมของยุคนั้นๆ

“สามกระบี่ผู้กล้า” ของจางเจียวซิน มิเพียงโครงเรื่องเลื่อนลอย หละหลวงเหลงไหลเรื่อยเท่านั้น หากแต่ตัวละครยังมากเกินไป นี่มิอาจนับเป็นนิยายที่ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องเพราะนิยายเล่มนี้ เดิมทีมิได้ถูกเขียนขึ้นอย่างมีแผนโครงการ มันเป็นเพียงสิ่งที่คนจดบันทึกเรื่องราวที่จางเจียวซิน “ซัวซู”–เล่านิทานไว้เท่านั้น คน “เล่านิทาน” ย่อมต้องการลูกค้านั่งฟัง ย่อมต้องน้อมตามข้อเรียกร้องของผู้ฟังที่เคยชินอยู่กับแบบเก่าๆ อยากจะหยุดก็มิอาจจบเรื่องได้ จำต้องยืดเรื่องออกไปเรื่อยๆ อย่างไร้ขอบเขตสิ้นสุด ต่อมาจึงยากจะหลีกให้พ้นดินพอกหางสลัดไม่หลุด กระทั่งว่าจบเรื่องไม่ลง

ข้าพเจ้าเล่านิยายเรื่องนี้ไว้ทำไม นั่นเพราะต่อๆมานิยายบู๊เฮี้ยบทั้งหลาย เกือบทั้งหมดสิ้นล้วนแล้วแต่บกพร่อมเป็นโรคที่ว่านี้ ตัวละครและการคลี่คลายของเรื่องมักจะหลุดออกห่างจากเส้นแกนหลักออกไปไกลลิบ

จาก “ว่าด้วยบู๊เฮี้ยบ

มังกรโบราณ เขียน

โชติช่วง นาดอน แปล



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท