อนุทิน 159876


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การจัดการชั้นเรียน: การแทรกแซงแบบ 2 ขั้นตอน ตอนที่ 3

การจะสงบนิ่งจำเป็นต้องใช้เวลาทั้งครูและนักเรียนเพื่อที่จะเอาตนเองออกไปจากสถานการณ์นั้นให้ได้ บ่อยครั้งที่นักเรียนจะคิดได้เองหากให้เวลากับเขาในการคิดคำนวณ การให้เวลารอจะทำให้เราไม่เจ็บปวดเกินไปนัก ดังนั้นกระบวนการทั้งสองขั้นตอนจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมาก ในความจริงแล้ว เวลาไม่ใช่ปัจจัยหลัก เมื่อเราคิดถึงเวลาที่จะถูกใช้ตลอดระยะเวลา 1 ปี ซึ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง เราก็ยิ่งจะเห็นเวลาที่ใช้ใน 2 ขั้นตอน ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นมากกว่าจะเห็นการแทรกแซงที่ทำให้สถานการณ์ไม่มั่นคงมากขึ้นไปอีก

ภูมิปัญญาโดยทั่วไปจะบอกเราให้แทรกแซงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการรอคอยจะทำให้ได้ผลที่ไม่ดีนัก ฉันเห็นว่าการรอคอยไม่ใช่ความคิดที่ดี แต่ฉันก็ไม่เห็นด้วยว่าการแทรกแซงในทันทีทันใดก็ใช่ว่าจะให้ผลดีนัก นักเรียนส่วนใหญ่ รวมทั้งครูด้วยจะทำให้ทุกอย่างแลดูแย่ลงหากปล่อยให้อารมณ์ยังคุกรุ่น และใช้อารมณ์เป็นหลักใหญ่ หลักที่ต้องจำก็คือทำให้ทุกอย่างอยู่ในสภาพเสถียรเสียก่อน ที่จะเข้าไปแทรกแซงโดยทันทีทันใด จงผ่อนคลายอารมณ์เสียก่อนเถิด!

แปลและเรียบเรียงจาก

Richard Curwin. Classroom Management: The Intervention Two-Step.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท