อนุทิน 159448


บ้านสวนข้าวกล้องข้าวแกง
เขียนเมื่อ

วันก่อน โบว์ไปตรวจฟันที่โรงพยาบาล ขณะที่กำลังรอพบแพทย์อยู่นั้น มีคุณป้าคนหนึ่งเดินเข้ามาทัก พลางยกมือไหว้ ? สวัสดีค่ะ อาจารย์โบว์? สวัสดีค่ะ คุณป้า ไม่ต้องไหว้โบว์ก็ได้ค่ะ ? (ในใจคิด เคยเจอคุณป้าท่านนี้ที่ไหนหนอ ไอ้เรามันความจำสั้น ?)คุณป้ามาทำอะไรคะ? มาใส่ฟันค่ะอาจารย์

ในที่สุดโบก็นึกออกค่ะ คุณป้าในภาพนี้นี่เอง เป็นชาวชุมชนท่าโสม คุณป้าประสบปัญหาพริกที่ปลูกเป็นโรคใบด่าง ตอนนั้นโบว์ก็ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์อันน้อยนิด?ให้คุณป้าค่ะ คิดว่าเกิดจากเชื้อไวรัส CVMV หรือ Chilli veinal mottle virus ค่ะ เป็นไวรัสรูปท่อนยาวคดงอ ก่อให้เกิดอาการด่างเขียวซีดบริเวณเนื้อใบ แต่เนื้อเยื่อรอบๆ เส้นใบยังคงเขียวเป็นปกติ บริเวณปลายใบมักมีสีซีดกว่าบริเวณโคนใบ ถ้าพืชเป็นโรครุนแรง ใบจะลีบ มีรูปลักษณะผิดปกติ ด่างชัดเจน และต้นหดสั้น พืชสามารถแตกกิ่งก้านต่อไปได้อีก แต่ส่วนยอดจะเจริญช้าและแคระแกร็นในที่สุดค่ะ โดยมีตัวเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ

?การป้องกันกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสมีหลักใหญ่ๆอยู่ 3 ประการด้วยกันค่ะคือ

  1. หลีกเลี่ยงการปลูกพริกที่อ่อนแอหรือง่ายต่อการติดเชื้อลงในดินปลูกที่เคยมีโรคหรือใกล้กับพืชที่สามารถติดต่อโรคกันได้ เช่น มะเขือเทศ ยาสูบ มันฝรั่ง

  2. พยายามขจัดทำลายต้นตออันเป็นแหล่งกำเนิดของโรคตลอดจนพืชอาศัยและวัชพืชต่างๆ ซึ่งอาจเป็นสื่อหรือที่อาศัยชั่วคราวของเชื้ออย่าให้มีหลงเหลืออยู่บริเวณแปลงปลูกค่ะ

  3. ป้องกันการระบาดและการติดเชื้อ เช่น ขจัดทำลายและป้องกันการระบาดของแมลงที่เป็นตัวนำและถ่ายเชื้อค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักการคร่าวๆในเบื้องต้น กรณีที่เราปลูกพริกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีค่ะ นอกจากนี้ก็ยังต้องมีขั้นตอนในการเฝ้าระวังเพลี้ยอ่อนอีก จะมาเล่าให้ฟังต่อไปนะคะ โพสต์นี้ยาวแว้ววว ??



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท