อนุทิน 158722


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ปกรณัม และการเมืองในการช่วยเหลือผู้ติดอยู่ในถ้ำในประเทศไทย ตอนที่ 5

การช่วยชีวิตที่ถูกทำให้เป็นพุทธมากขึ้น (ต่อ)

เรื่องเล่าที่โน้มเอียงที่เป็นพุทธสะท้อนให้เห็นถึงวาทกรรมที่ดำเนินมาเป็นศตวรรษ ที่ได้พรรณนาถึงการเอาชนะของกรุงเทพฯต่อชายขอบในเรื่องของหน้าที่เชิงศีลธรรม ซึ่งจะส่งให้เกิดผลได้ก็ต่อเมื่อมีการแทนที่วัฒนธรรมที่ไม่มีอารยะของหมู่บ้าน ด้วยการนำรูปแบบของศาสนาที่มีความบริสุทธิ์ของพุทธที่สนับสนุนโดยรัฐเท่านั้น อย่างที่มีการอ้างอิงถึงในนิว แมนดาลา เส้นแบ่งระหว่างพุทธกับไสย—ในประเทศไทยอื่นๆ—ถูกขีดโดยไสยยอมรับพุทธเท่านั้น

มันดูราวกับว่าเรื่องเล่าที่สนับสนุนโดยรัฐของการช่วยชีวิตมีจุดสิ้นสุดรงที่พยายามจะลบปกรณัมที่เกิดขึ้น และแทนมันด้วยข้อสรุปที่ว่าศูนย์กลางสามารถมีอำนาจเหนือชายขอบที่ไม่เป็นอารยะ ผลลัพธ์ที่พึงปรารถนา—การช่วยเหลือนักฟุตบอลที่ยังเด็ก—มีลักษณะคล้ายๆการแทนที่ของอำนาจศูนย์กลาง

บทสรุปภาพอันน่าตื่นเต้นที่แสดงออกต่อหน้ามหาชนในสื่อที่เกี่ยวกับเรื่อการช่วยชีวิตประสบผลสำเร็จในการที่ไทยไม่ว่าจะมีมุมมองทางการเมือง และสังคมแบบใดก็ตาม (ซึ่งรวมถึงชาวต่างชาติด้วย) สนับสนุนเรื่องเล่าที่มาแทนความรุนแรงเชิงรัฐไป ตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการเข้ามาสู่อำนาจในปี 2014 (พ.ศ. 2547) รัฐทหารมีความสามารถในการช่วยเหลือที่ไม่แบ่งแยกที่เป็นการครอบครองในเชิงสัญลักษณ์ที่มีต่อชุมชน ด้วยการทำให้การช่วยเหลือนักฟุตบอลเยาวชน ก็คล้ายรัฐส่วนกลางก็เข้ามาครอบงำชายขอบที่เป็นอันตรายและเป่าเถื่อน ความปีติยินดีของพวกเราต่อผลลัพธ์ที่ประสบผลสำเร็จ แยกกันไม่ออกระหว่างการยอมรับว่ามีการเมืองในเรื่องเล่าที่ว่าด้วยการประวัติความรุนแรงของรัฐ

แปลและเรียบเรียงจากEdoardo Siani. Myth and Politics in Thailand’s cave rescue operationhttp://www.newmandala.org/author/edoardo-siani/



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท