อนุทิน 157434


ยุวธิดา รอดจันทร์ทอง
เขียนเมื่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับบรูไนดารุสซาลาม ความสัมพันธ์ทั่วไปไทย ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับบรูไนฯตั้งแต่พ.ศ.2527 เมื่อบรูไนได้เป็นเอกราชและได้เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน ซึ่งทั้งสองประเทศได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันโดยตลอด โดยเฉพาะระดับราชวงศ์ได้มีการแลกเปลี่ยนเยือนในระดับราชวงศ์และผู้นำระดับสูงของรัฐบาลความสัมพันธ์ด้านการเมือง ซึ่งได้มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทหาร การค้า การลงทุน การประมง แรงงาน การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม โดยไทยประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวให้บรูไนฯ ให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารฮาลลาลความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังบรูไนฯ คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำตาลทราย ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องจักรกล และเครื่องคอมพิวเตอร์สินค้าที่ไทยนำเข้าจากบรูไนฯ คือ น้ำมันดิบ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ธุรกรรมพิเศษ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรก และส่วนประกอบ วัสดุทำจากยางและสิ่งพิมพ์ และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ด้านแรงงาน ปัจจุบันมีแรงงานไทยในบรูไนฯ ประมาณ 8,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำงานในกิจการก่อสร้าง อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก นอกนั้น ทำงานในภาคธุรกิจบริการ เช่น ห้าง สรรพสินค้า ร้านอาหาร การตกแต่งดูแลสวน ช่างซ่อม และงานในภาคเกษตรกรรม แรงงานไทยส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับอย่างดีจากนักธุรกิจในบรูไน ฯ เพราะมีความซื่อสัตย์ อดทน ขยัน หมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบแม้จะด้อยในเรื่องภาษา 

      ประเทศบรูไนดารุสซาลามเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ศาสนา การท่องเที่ยว การเมือง การค้าขาย ถือว่าบรูไนนั้นเป็นประเทศหนึ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญมาก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท