อนุทิน 156796


พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

สถานะของวรรณคดีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

          ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความ “สนุก” และการ “เล่น” “ยังคงเป็นมาตรฐานแห่งชีวิตที่ดี” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ๒๕๒๒, น. ๑) สืบต่อจากค่านิยมของอยุธยา เป็นการแสดงออกของมูลนายและไพร่บนพื้นฐานเดียวกัน แม้ว่าความซับซ้อนของวัสดุและเนื้อหาจะต่างระดับกัน

          สิ่งที่หมุนเวียนอยู่ในชีวิต คือ พิธี และการเล่น ซึ่งมักปรากฏควบคู่กันการเล่นมักเป็นส่วนต่อเนื่องจากพิธี กล่าวว่า เสร็จพิธีก็มีฉลอง ทั้งพิธีและการเล่นจึงบ่งบอกความเป็นปกติสุขของชีวิต ซึ่งมีนัยยะตรงข้ามกับความผันผวนปรวนแปรและความทุกข์ ความเชื่อมโยงของการฉลองสมโภชเพื่อสร้างกุศลกับการเล่นและศิลปะเป็นปกติในวิถีชีวิตของประชาชน

          มโนทัศน์เกี่ยวกับการเล่นของคนไทยเป็นสิ่งลึกซึ้ง การสร้างเสพศิลปะ เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ความเป็นวัตถุสุนทรีย์ ก่อให้เกิดความหฤหรรษ์ทางอารมณ์ ไม่จำเป็นต้องบอกเล่าแต่เฉพาะความสุข แต่อาจเกี่ยวข้องกับความทุกข์ เมื่อผลิตงานแล้วความสำคัญของงานมีมากกว่าผู้สร้าง และไม่ใช่สมบัติของผู้สร้างอีกต่อไป การสร้างงานศิลปะจึงเป็นวิถีทางหนึ่งของการมอบสิ่งที่เชื่อมั่นว่าดีและงามด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น

          การเรียนรู้ทางกวีนิพนธ์ (ความงาม) ก็เป็นมโนทัศน์ที่สืบจากอยุธยา กวีห่างไกลจากความเป็น “พาลสันดานหยาบ” การย้ำหลักเกณฑ์การประพันธ์แสดงถึงวิชาอันมีแบบแผนในรากทางวัฒนธรรม

         ในแง่หนึ่งมองว่า รามเกียรติ์เป็นที่นิยมฟังกันอย่างหลงใหล และยึดถือเอาเป็นเรื่องจริง (เสถียรโกเศศ, ๒๕๑๕ ค ,น. ๒๖๙) ซึ่งแสดงว่ากวีไทยในสมัยนั้นเข้าใจอิทธิพลของวรรณคดีและความสับสนระหว่างความจริงกับความลวง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากไม่เข้าใจธรรมชาติของวรรณคดี อีกแง่หนึ่งอาจมองว่าจุดมุ่งหมายของวรรณคดีไทยคือความบันเทิงใจ เรื่องที่เป็นที่นิยมว่าศักดิ์สิทธิ์ในต้นตอเดิม 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท