อนุทิน 156794


พีระพงษ์ บัวขาว
เขียนเมื่อ

กระบวนการสร้างเสพวรรณคดี กับบริบททางวัฒนธรรมจากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 วรรณคดีมุขปาฐะ กับประเพณีการเล่นของประชาชน

พูดเกี่ยวกับวรรณคดีมุขปาฐะซึ่งมีความใกล้ชิดกับสถาบันพื้นฐานของการใช้เวลาว่าง ซึ่งได้แก่ การชุมนุมทางสังคม งานฉลองและพิธีต่างๆ ในชนเผ่าไท มีการขับลำหรือภาษาประกอบท่วงทำนองและจังหวะ ( จากการเล่นดนตรี ) น่าจะเป็นพิธีการสร้างเสพวรรณคดีในลักษณะมุขปาฐะแต่ดั้งเดิม

          อาจกล่าวได้ว่าการร้องรำทำเพลงเป็นกิจกรรมที่แทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การเล่น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการมหรสพ มีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมและเทศกาลต่างๆ แต่การเล่นนั้นไม่ใช่พิธีกรรม ที่มีความสำคัญในพิธีกรรมก็เพราะเป็นเครื่องแสดงว่าพิธีกรรมนั้นนำความสุขชื่นบานมาสู่ชุมชน  ในขณะที่พิธีกกรมให้ความหวัง และเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองมั่นคง ก็เป็นเวลาอันเหมาะสมสำหรับการสื่อและรับประสบการณ์ทางสุนทรียะ

การละเล่นจึงเป็นเครื่องหมายผาสุกและความเป็นปกติสุขของบ้านเมืองราชสำนักมีภารกิจในการให้ความอุปถัมภ์ต่อศิลปะ ดังที่ตุรแปง กล่าวว่า “ การละเล่นต่างๆเหล่านี้ไม่ต้องใช้จ่ายเงินมากนัก เพราะพระเจ้าแผ่นดินหรือขุนนางผู้ใหญ่เป็นผู้ออกให้ ” 

            ค่านิยมที่ถือว่า ความรื่นเริงบันเทิงใจของประชาชนเป็นเกียรติคุณของผู้ปกครองและเป็นเครื่องหมายของความเป็นปกติสุขของรัฐ น่าจะมีรากลึกในวิถีการผลิตในชีวิตของชนเผ่าไท เนื่องจากเป็นสังคมเกษตรกรรมซึ่งต้องพึ่งพาธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งจะปรากฏในรูปพิธีกรรมและการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษซึ่งนับเป็นศาสนาเก่าแก่ก่อนการนับถือเทวดาในลัทธิฮินดู



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท