อนุทิน 156511


Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

เพลงพื้นบ้านตะวันออกเฉียงเหนือ (เพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน )ใช้ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานรุ่งเรืองต่าง ๆ สามรถแต่งได้ตามกลุ่มวัฒนธรรม 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ กลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราชและกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึม ดังนี้

  1. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ ประกอบด้วยหมอลำและเซิ้งโดยหมอลำแบ่งการลำและการร้องออกเป็น 5 ประเภทคือ ลำเรื่อง ลำกลอน ลำหมู่ ลำเพลินและลำผีฟ้า ส่วนเซิ้งหรือคำร้อง จะใช้คำร้องรื่นเริง เช่น การแห่บั้งไฟการแห่นางแมว การแห่นางด้งโดยเนื้อเรื่องในการเซิ้งอาจเป็นการขอบริจาคเงินในงานบุญการเซิ้งอวยชัยให้พร หรือการเซิ้งเล่านิทานชาดกตามแต่โอกาส
  2. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมานานในจังหวัดนครราชสีมา หรือโคราชซึ่งเนื้อเพลงมีลักษณะเด่นมนการเล่นสัมผัสอักษรและสัมผัสสระทำให้เพลงน่าฟังยิ่งขึ้น และยังมีเสียงร้อง ไช ชะ ชะ ชิ ชายพร้อมทั้งการรำประกอบแบบเยาะตัวตามจังหวะขึ้นลงซึ่งเพลงโคราชนี้นิยมเล่นทุกโอกาสตามความเหมาะสม
  3. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึมที่นิยมร้องเล่นกันในแถบจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเขมร ได้แก่ บุรีรัมย์สุรินทร์ และศรีษะเกษ โดยคำว่ากันตรึม นั้นหมายถึงกลองกันตรึมซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักเวลาตีจะใช้จังหวะเสียงดัง โจ๊ะกันตรึม โจ๊ะตรึม ๆและเจรียงหมายถึง การขับหรือการร้องเพลงมี 2 แบบคือเจรียงใช้ประกอบการบรรเลงดนตรีกันตรึม ซึ่งเมื่อขับร้องไปท่อนหนึ่งดนตรีกันตรึมก็จะรับและบรรเลงยาว ต่อไปเป็นเจรียงดนตรีใช้ร้องในงานโดยจะขับร้องไปเรื่อย ๆ และมีดนตรีบรรเลงคลอไปเบา ๆซึ่งในการร้องเจรียงนั้นสามารถร้องเล่นได้ทุกโอกาสโดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาล

ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท