อนุทิน 156483


ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมสมัยสุโขทัย

รรณกรรมในสมัยกรุงสุโขทัยมีอยู่หลายประเภท ส่วนใหญ่ออกมาในรูปของ การสดุดีวีรกรรม ศาสนา ปรัชญา โดยมีวรรณกรรม ที่สำคัญ ดังนี้

- หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพ่อขุน รามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้จารึก ตัวอักษร ลงบนหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ นับว่าเป็นหลักแรกที่แสดง ถึงอักขรวิธีของภาษาไทย และเป็นวรรณกรรมที่แสดงถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณีของอาณาจักรสุโขทัย

- ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) เป็นผู้พระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘ โดยพระองค์มีพระราชประสงค์ ใช้เทศนาโปรดพระราชมารดาและสั่งสอนประชาชนของสุโขทัย ให้บรรลุถึง นิพพาน วรรณกรรมไตรภูมิพระร่วงจะบรรยายถึงภาพของนรก สวรรค์ ไว้อย่าง ชัดเจน โดยสอนให้รู้จักบาปบุญ คุณโทษ รู้ชั่ว เกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับ จากการทำความชั่ว

อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท