อนุทิน 156412


Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

วาทกรรมบุญในวรรณกรรมอีสาน

      บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องบุญในวรรณกรรมอีสานประเภทคาสอนและประเภทนิทานผ่านกรอบวาทกรรมตามแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ และเพื่อวิเคราะห์กระบวนการก่อรูปวาทกรรมบุญ รวมทั้งเผยให้เห็นกลไกของอานาจที่มีต่อมนุษย์ในสังคม วรรณกรรมอีสานที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนิทาน 5 เรื่อง ได้แก่ กาฬะเกษ ขูลูนางอั้ว ท้าวก่ากาด่า ท้าวโสวัตร์ นางผมหอม และผญาภาษิตจากหนังสือ ไขภาษิตโบราณอีสานผลการศึกษาพบว่า “บุญ” ในวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน หมายถึงอานาจพิเศษที่หนุนส่งค้าชูให้เกิดผลคือภพที่น่าชื่นชม ซึ่งต่างกันไปในแต่ละเงื่อนไข บางครั้งหมายถึงสวรรค์ บางทีหมายถึงความสมบูรณ์พูนสุข บ้างก็หมายถึงการมีคู่ครองและมีทายาทสืบสกุล ซึ่งเป็นบุญระดับโลกียะ (โอปธิกบุญ) หรือโลกียกุศล และแนวคิดดังกล่าวนี้ได้รับการพูดถึง สื่อสาร ตอกย้า ปฏิบัติจนกลายเป็นแบบฉบับเฉพาะของผู้มีบุญ และเป็นภาพจาของคนที่อยู่ในสังคมว่านั่นคือ ความจริง ครั้นมอง “บุญ” ตามที่กล่าวมาผ่านเลนส์วาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ ได้เห็นว่า “บุญ” ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่ก่อน ไม่ใช่สัจธรรม แต่เป็นสิ่งที่ถูก “แต่ง” ขึ้นหรือสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะของสังคมอีสานในบริบทสังคมประเพณีที่กากับด้วยอุดมการณ์อานาจชายเป็นใหญ่ และอยู่ภายใต้ร่มเงาการปกครองแบบพระสมมติราชที่อิงอยู่กับหลักคาสอนของพุทธศาสนาแบบชาวบ้านคาสาคัญ: บุญ วาทกรรม วรรณกรรมอีสาน

  อ่านต่อใน http://journal.human.cmu.ac.th...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท