อนุทิน 156405


Sasiwimol Ura
เขียนเมื่อ

“ผู้ดี”

     ตามความเข้าใจกันอย่างง่าย การวิจารณ์หนังสือเล่มใด ก็คือการติชมหนังสือเล่มนั้น และนักวิจารณ์คือผู้ตั้งตัวขึ้นพินิจงานของผู้อื่น ฟังเผินๆ นักวิจารณ์ออกจะเป็นคน “เขื่อง” อยู่สักหน่อย  แท้ที่จริงความเป็นคนเขื่องของนักวิจารณ์อยู่ใกล้อันตรายมาก  นักวิจารณ์คือคนที่ทั้งห้าวและทั้งหาญ  เมื่ออ่านหนังสือเล่มใดแล้วก็ใคร่จะอวดให้ปรากฏว่าตนซึมทราบในหนังสือนั้น และในความประสงค์ของผู้แต่งเพียงใด ถ้าผู้วิจารณ์สามารถแยกแยะถ้อยประสงค์ของผู้แต่งได้ถี่ถ้วน  ชมถูกตรงที่เหมาะควรชมและติตรงที่เหมาะควรติ ผู้วิจารณ์ก็เป็นอันว่ารักษาความเขื่องไว้ได้ด้วยดี  แต่ถ้าการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม   ความ ”เขื่อง” ก็จะกลายเป็นความ “โข่ง” ไป

    การที่ผู้วิจารณ์จะเข้าใจจุดประสงค์ของผู้แต่งได้ถูกต้องนั้น อาศัยที่มีความปรีชาสามารถอ่านดวงใจคนออก ในบางครั้งผู้วิจารณ์ “ปรีชา” เกินผู้แต่ง หาจุดประสงค์ให้แก่เรื่องทั้งๆที่ผู้แต่งยังนึกไปไม่ถึง  หรือไม่ประสงค์ดังนั้น ผู้เขียนเคยอ่านพบเรื่องเล่าว่า เมื่อ กอลสเวอธี Galsworthy นำละครเรื่อง “Strife” ออกแสดง มีผู้เขียนบทวิจารณ์ว่าข้อใหญ่ใจความของละครคือ การขันสู้ระหว่าง Capital และ Labour และเสริมว่า Galsworthy ใช้ปัญหาเศรษฐกิจสมัยปัจจุบันเป็นโครงเรื่อง แต่แล้วตัวผู้แต่งบทละครกลับแถลงว่า  มิได้นึกไปถึงปัญหาเศรษฐกิจเลย  

                                                                                                                         อ่านต่อใน http://www.thaicritic.com/?p=1...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท