อนุทิน 156397


ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมท้องถิ่น

 วรรณกรรมท้องถิ่น  หมายถึง  วรรณกรรมที่ปรากฎอยู่ในท้องถิ่นภาคต่าง ๆ ของไทย  ทั้งที่เป็นลายลักษณ์  หรือมุขปาฐะ ซึ่งแตกต่างไปจากวรรณกรรมแบบฉบับ  เพราะวรรณกรรมท้องถิ่นนั้นชาวท้องถิ่นสร้างขึ้นมา  ชาวท้องถิ่นใช้  (อ่าน, ฟัง)  และชาวท้องถิ่นเป็นผู้อนุรักษ์  โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง  รูปแบบของฉันทลักษณ์จึงเป็นไปตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ

          วรรณกรรมท้องถิ่นมีเนื้อหาสาระ  และคตินิยมเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากคนไทยทุกภาพในอดีตมีคตินิยมในการสร้างหนังสือถวายวัด  โดยเชื่อกันว่าจะได้อานิสงส์อย่างแรง  อีกประการหนึ่งวัดก็เป็นสำนักเล่าเรียนของกุลบุตร  กุลธิดาของประชาชน   ฉะนั้นการสร้างสรรค์วรรณกรรมท้องถิ่นยังมีส่วนให้นักเรียนได้ฝึกอ่านหรือทวบทวนนอกเหนือไปจากแบบเรียน(จินดามณี  ปฐมมาลา  ปฐม ก.กา)  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมประเภทนิทานคติธรรม สามารถอ่านต่อได้ที่  http://kruyut-kruyut.blogspot....



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท