อนุทิน 156396


ธัญญลักษณ์ สง่ากอง
เขียนเมื่อ

ความหมายของวรรณกรรม

วรรณกรรม(Literature)
 
                       วรรณกรรม (Literature) หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ
แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น
2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่
วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก  วรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีเรียกว่า"วรรณคดี"  สำหรับวรรณคดีนั้นต้องเป็นวรรณกรรม แต่วรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดี

              คำนิยาม "วรรณกรรม คือภาษาศิลป์ ที่สร้างจินตนาการ ให้อารมณ์ ให้ความรู้และความเพลิดเพลิน"ซึ่งปัจจุบันวรรณกรรมมุ่งเน้นที่ความรู้ และความเพลิดเพลินของผู้อ่าน ส่วนภาษาศิลป์นั้นจะเป็นแบบใดก็ได้
            วรรณกรรมมีความหมายครอบคลุมถึงงานเขีนต่างๆดังต่อไปนี้
     1)งานเขียนทั่วๆไป เป็นงานที่ไม่จำเป็นต้องศิลปะหรือกลวิธีในการเขียน เช่น ตำรา เอกสารทางวิชาการ เป็นต้น
     2)งานเขียนที่ต้องมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ จะเป็นงานเขียนประเภทใดก็ได้ แต่ต้องแต่งอย่างมีศิลปะมีความ
ประนีตงดงาม มีกลวิธีสร้างอารมณ์สะเทือนใจ และทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตาม งานเขียนที่มีคุณค่าทาง
วรรณศิลป์เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร บทความ สารคดี เป็นต้น
             สามารถอ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท