อนุทิน 156227


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

หลักการวิภาษวิธีของมาร์กซ์ (ต่อ)

4. มูลเหตุแห่งการพัฒนา เปลี่ยนแปลง และดับสูญของสรรพสิ่ง มาจากปัจจัยภายในซึ่งแฝงไว้ด้วยความขัดแย้งสรรพสิ่งล้วนมีด้านตรงข้ามและด้านกลับ  มีด้านอดีตและอนาคต มีทั้งสิ่งที่กำลังเน่าเปื่อยและสิ่งที่กำลังพัฒนา การต่อสู้ของด้านที่เป็นปฏิปักษ์กัน การต่อสู้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ ระหว่างสิ่งที่กำลังดับสูญกับสิ่งที่เกิดใหม่  ระหว่างสิ่งที่เน่าเปื่อยกับสิ่งที่พัฒนา ก็คือเนื้อหาภายในของ "กระบวนการพัฒนา" และ "การแปรเปลี่ยนจากการเปลี่ยนแปลงทางปริมาณไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ" นั่นเอง

 วิภาษวิธีเห็นว่า กระบวนการพัฒนาจากขั้นต่ำไปสู่ขั้นสูง มิใช่ดำเนินไปโดยอาศัยการคลี่คลายอย่างปรองดองของปรากฏการณ์  หากแต่อาศัย

 1. การเปิดเผยความขัดแย้งที่ดำรงอยู่มาแต่ดั้งเดิมในตัวของสรรพสิ่งและปรากฏการณ์เอง

 2. การยึดกุม "การต่อสู้ของแนวโน้มที่เป็นปฏิปักษ์กัน" ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่บนพื้นฐานของความขัดแย้งเหล่านั้น

โดยสรุปวิภาษวิธี คือ ศาสตร์ของกฎแห่งความเคลื่อนไหวทั่วไป ที่รวมทั้งโลกภายนอกและความคิดของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้าม หลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่าเป็น thesis + antithesis  synthesis(ข้อวินิจฉัย/บทตั้ง + ข้อโต้แย้ง/บทแย้ง → บทสรุป, การสังเคราะห์) 

กระนั้นขั้นการสรุปสุดท้ายหรือบทสรุปก็จะเกิดเป็นบทตั้งใหม่ รอจนกว่าจะมีข้อขัดแย้ง ซึ่งเป็นการต่อสู้ของแนวโน้มที่เป็นปฏิปักษ์กันและเคลื่อนไหวอยู่บนพื้นฐานของความขัดแย้งเหล่านั้น สุดท้ายจึงกลายเป็นการประสมใหม่ วนอยู่อย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าสังคมจะเข้าสู่สังคมแบบคอมมิวนิสต์




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท