อนุทิน 156204


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

แต่ปรัชญาวัตถุนิยมเห็นว่าวัตถุ โลกธรรมชาติ และการดำรงอยู่ของมัน เป็นความจริงทางภววิสัยที่มีอยู่นอกจิตสำนึกของคนเรา และไม่ขึ้นต่อจิตสำนึกของคนเรา โลกธรรมชาติเกิดขึ้นก่อนและดำรงอยู่มาหลายพันล้านปีก่อนที่จะมีมนุษย์  เช่นนี้แล้วมันจะเป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในจิตสำนึกของคนเราได้อย่างไร ? วัตถุที่พัฒนาจนมีความสมบูรณ์ในระดับสูง จะมีความรู้สึกนึกคิด วัตถุที่พัฒนาจนมีความสมบูรณ์ในระดับสูงเกิดขึ้นจากสมองคน และสมองคนก็เป็นอวัยวะของการนึกคิด (ซึ่งก็คือวัตถุ) ดังนั้น จะต้องไม่แยกความนึกคิดออกจากวัตถุ 

เหมือนกับรุ่นน้องคนหนึ่งของผมเชื่อ เขาเชื่อว่าถ้าทำลายสมองทิ้งไป สุดท้ายเราก็จะหมดความรู้สึก

 3. จิตสำนึกของคนเราก็มีบทบาทอย่างเป็นฝ่ายกระทำ ย้อนกลับไปเปลี่ยนแปลงวัตถุ โลกธรรมชาติ และการดำรงอยู่ของมันได้เช่นกัน

แม้ว่า "วัตถุและการดำรงอยู่ของมัน เป็นสิ่งที่กำหนดจิตสำนึกของคนเรา"  แต่ในขณะเดียวกัน "บทบาทที่เป็นฝ่ายกระทำของจิตสำนึกคนเรา ก็สามารถที่จะย้อนกลับไปเปลี่ยนแปลงวัตถุและการดำรงอยู่ของมันได้" กล่าวคือวัตถุกำหนดจิตและจิตก็กำหนดวัตถุเช่นกัน (แนวคิดของกรัมชี่และอัลธูแซร์?)

โดยสรุปวัตถุนิยมตามแนวลัทธิมาร์กซ จึงมีความเห็นว่า "โลกและกฎของโลก" คนเราสามารถที่จะรับรู้ได้อย่างแน่นอน  

ความรู้เกี่ยวกับกฎของโลกธรรมชาติ และความรู้ที่เกิดจากความจัดเจนที่ผ่านการทดสอบด้วยการปฏิบัติแล้ว เป็นความรู้ที่เปี่ยมไปด้วยความหมายแห่งสัจธรรมภววิสัย และเชื่อถือได้ 

ในโลกนี้ไม่มีสิ่งที่ไม่อาจรับรู้ได้  หากมีแต่สิ่งที่ยังมิได้รับรู้เท่านั้น แต่วิทยาศาสตร์และพลังของการปฏิบัติ จะต้องเปิดเผยมันและรับรู้มันจนได้ในที่สุดในที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท