มาร์กซ์ได้รับอิทธิพลจากเฮเกลในเรื่องจิตนิยมวิภาษวิธี อย่างไรก็ตามมาร์กซ์กลับเน้นไปที่วัตถุมากกว่าจิต ในบันทึกบทนี้จะมาคุยกันถึงเรื่องวัตถุนิยมคืออะไร และกระบวนการวิภาษวิธีคืออะไร
วัตถุนิยมวิภาษเป็นโลกทัศน์วิทยาศาสตร์ของชนชั้นกรรมาชีพ เหตุที่เรียกว่า วัตถุนิยม ก็เพราะ "การอธิบายและความเข้าใจ" ปรากฏการณ์ในโลกธรรมชาติ ตลอดจนวิถีของมัน เป็นแบบวัตถุนิยม ส่วน "วิธีมองและวิธีศึกษาค้นคว้า" ปรากฏการณ์ในโลกธรรมชาติ ตลอดจนวิธีรับรู้ปรากฏการณ์เหล่านี้นั้นที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเป็นหลักนั้นก็เป็นแบบวิภาษวิธี
หลักวัตถุนิยมของมาร์กซ์ โดยย่อ มีดังนี้
1.โลกและจักรวาล โดยธาตุแท้แล้วเป็นวัตถุ มิได้มีสิ่งที่เรียกว่า "มโนคติสัมบูรณ์" หรือ "จิตวิญญาณสากล" หรือ "จิตสำนึกครอบงำโลก" ดังที่เฮเกลเชื่อ
2. วัตถุ โลกธรรมชาติ และการดำรงอยู่ของมัน เป็นสิ่งที่กำหนดจิตสำนึกของคนเรา กล่าวคือวัตถุกำหนดความคิดอ่านหรือจิตสำนึกของคนเรา ในขณะที่ปรัชญาจิตนิยมดันทุรังกล่าวว่า จิตสำนึกของคนเราเท่านั้นที่ดำรงอยู่จริง ส่วนการดำรงอยู่ของวัตถุและโลกธรรมชาติเป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในจิตสำนึก ในความรู้สึก ในจินตนาการ และในมโนคติ หรือความคิดรวบยอด (concept) ของคนเรา และเห็นอย่างเหลวไหลว่า ในจักรวาลมีพลังเร้นลับที่อยู่เหนือธรรมชาติที่คอยดลบันดาลให้สรรพสิ่งเป็นไปอย่างโน้นอย่างนี้
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก