อนุทิน 156159


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ดังนั้นโฉมหน้าของสังคมหนึ่ง ๆ จึงกำหนดโดย "แบบวิธีการผลิต หรือวิถีการผลิต" นั่นเอง

ส่วนโครงสร้างทางการเมือง กฎหมาย ศีลธรรม ฯลฯ ของสังคมหนึ่งๆ  ถึงที่สุดแล้วก็กำหนดโดยแบบวิธีการผลิต และความสัมพันธ์ทางการผลิตด้วย

การเปลี่ยนแปลงของแบบวิธีการผลิต กำหนดให้รูปลักษณ์สังคมหนึ่งแปรเปลี่ยนไปสู่อีกรูปลักษณ์สังคมหนึ่ง เมื่อแบบวิธีการผลิตอย่างหนึ่งพัฒนาถึงระยะที่แน่นอนหนึ่งแล้ว ก็จำต้องถูกแบบวิธีการผลิตใหม่เข้าแทนที่ เช่น จากการหาของป่าล่าสัตว์ เมื่อคนเราเริ่มตั้งอยู่กับที่ จึงเกิดระบบการเกษตรขึ้น

ความขัดแย้งระหว่าง "พลังการผลิต และ ความสัมพันธ์การผลิต" นำไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลง "แบบวิธีการผลิตหรือวิถีการผลิต และ รูปลักษณ์สังคม"

พลังการผลิตและความสัมพันธ์การผลิตที่ประกอบขึ้นเป็น 2 ด้านในแบบวิธีการผลิตนี้ พลังการผลิตเป็นปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดและปฏิวัติที่สุด  มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงปฏิวัติอยู่เสมอ ความสัมพันธ์ทางการผลิตมีความมั่นคงกว่า (อย่างสัมพัทธ์) เมื่อเทียบกับพลังการผลิต เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะกลายเป็นรูปแบบที่แน่นอนหนึ่ง (อย่างสัมพัทธ์) ในระยะประวัติศาสตร์หนึ่งๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท