อนุทิน 156041


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

หากพูดตามลัทธิมาร์กซ์แล้ว สังคมในแต่ละคนสังคม แบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคแรกคือเรื่องเศรษฐกิจ ภาคสองคือเรื่องความคิด

ภาคเศรษฐกิจ พวกนี้จะมองว่าวิถีการผลิต (mode of production) จะประกอบด้วยส่วนสองส่วนก็คือ พลังการผลิต (productive force) และ ความสัมพันธ์ทางการผลิต (specific social relation of production) ซึ่งทั้งส่วนนี้จะกำหนดโครงสร้างและรูปแบบวิถึการผลิตอีกทีหนึ่ง รวมทั้งการกระจายสินค้าด้วย

ภาคการคิด หมายถึง กฎ ระเบียบ คติ ความเชื่อ กฎหมาย ส่วนใดก็ตาม ที่ไม่เกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจ

นักลัทธิมาร์กซ์บางคนคิดอยู่แต่ว่าภาคเศรษฐกิจจะกำหนดภาคการคิด แต่บางคนบอกว่าภาคการคิดกำหนดภาคเศรษฐกิจ

แต่ในความคิดผม เห็นว่าภาคเศรษฐกิจประกอบด้วยคนหลายชนชั้น และแต่ละชนชั้นก็พยายามจะให้วิถีการผลิตของตนมาเป็นตัวหลักในการนำวิถีการผลิตแบบอื่นๆ และพยายามกระจายแนวคิดของตนเองด้วย

อย่างประเทศไทย ชนชนนำเป็นทหาร ซึ่งสนับสนุนทุนนิยมผูกขาด ก็เป็นธรรมดาที่ในวันเด็ก ย่อมจะทำให้วิธีคิดของตนเองนำวิถีคิดแบบอื่นๆไปด้วย เช่น การนำเด็กๆขึ้นเครื่องบิน หรือในจับต้องอาวุธต่างๆ ผสมกับแนวคิดชาตินิยมแบบสุดโต่งที่ตนเองสมาทานด้วย

(ได้คิดนี้มาจากการอ่าน Perspectives in Marxist Anthropology ของ Maurice Godelier)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท