อนุทิน 155153


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการอพยพของชาวโรฮิงญา? ตอนที่ 2

ประวัติศาสตร์ของการย้ายถิ่น (History of migration)

การอ้างอิงถึงความชอบธรรมของพวกโรฮิงญาในฐานะที่เป็นบุคคลพื้นเมือง (indigenous) เป็นการโต้วาทะกันอย่างเผ็ดร้อน (sharp debate)ในพม่า

แต่พวกนัประวัติศาสตร์เห็นพ้องร่วมกันว่าในศตวรรษที่ 9 เคยมีอาณาจักรอารากันที่เป็นอิสระดำรงอยู่ (independent kingdom of Arakan) ซึ่งตอนนี้ก็คือรัญยะไข่ (Rakhine state) และเนื่องมาจากว่าได้ติดต่อกับพ่อค้าชาวอาหรับ (Arab traders) ที่มาติดต่อกันทางทะเล จึงส่งผลให้ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม ตลอดเวลาหลายศตวรรษ การมาถึงของคนภายนอก ไม่ว่าจะเป็นชาวอาหรับ, ชาวเตอร์ก (Turks), ชาวเปอร์เซีย (Persians), ชาวโมกุล (Mughals) และชาวปาทาน (Pathans) สุดท้ายวัฒนธรรมพวกนี้จึงได้คงตัวอยู่ตัวตน จนได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมชาวโรฮิงญาในทุกวันนี้

 พระมหากษัตริย์ของพม่าเอาชนะชาวอารากันได้ แต่เนื่องจากพรมแดนทางธรรมชาติจึงทำให้อาณานิคมชาวพุทธ (Buddhist colonization) ไม่สามารถเอื้อมไปจนถึงอารากันทางเหนือได้ ต่อมาชาวอังกฤษได้ยึดดินแดนของชาวอารากันไว้ได้ (Britain’s annxation) ในปี 1824-26 ทำให้นำดินแดนชาวอารากันเป็นอานานิคมของอินเดีย จึงเป็นสาเหตุของความโชคร้ายมาสู่ชาวโรฮิงญาแทน เอเชียใต้ รวมถึงมุสลิมเบงคลี (Bengali Muslim) ได้เคลื่อนย้ายมาที่อารากัน ทำงานรับจ้างราคาถูก (cheap labor) หลายๆต่อหลายคนมานับถือศาสนาอิสลาม

แม้ว่าพวกชาตินิยมชาวพุทธแห่งชาติพม่า (Myanmar Buddhist nationalities) จำนวนหยิบมือหนึ่งที่ตั้งใจจะยอมรับตัวตนชาวโรฮิงญาที่เป็นคนพื้นเมืองก็จำกัดอยู่แค่ว่า “ลูกหลานของพวกตั้งรกรากระหว่างที่อังกฤษเป็นเจ้าอาณาานิคมอยู่ไม่มีความชอบธรรมที่จะกล่าวได้ว่าเป็นชนพื้นเมือง”

 แปลและเรียงเรียกจาก

ไม่มีชื่อผู้แต่ง. What’s behind Rohingya exodus from Myanmar?



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท