อนุทิน 155118


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ภาพถ่าย: เด็กๆที่ยืนอยู่ท่ามกลางห่ากระสุนในวิกฤตการณ์โรฮิงญา ตอนที่ 3

ถึงแม้สถานการณ์จะน่ากลัว แต่ความช่วยเหลือเชิงมนุษยธรรมก็คือการจัดให้เด็กๆมีเวลาและพื้นที่ที่จะเล่น และเพิ่มโครงสร้างเข้าไปในชีวิต ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาฟื้นคืนจากประสบการณ์ที่เป็นบาดแผลที่พวกเขาเคยประสบพบมา

Jean Lieby ที่เป็นหัวหน้าของการปกป้องเด็กในองค์การยูนิเซฟของบังคลาเทศกล่าวว่า “เด็กๆต้องการความปลอดภัย เด็กบางคนต้องเดินถึง 6 วันภายใต้ป่าฝน (rainforest)”

Lieby ยังกล่าวอีกว่า “เด็กต้องทำความคุ้นเคยกับพื้นที่” ในตึกที่อยู่ในค่าย และต้องมีอุปกรณ์ทางศิลปะ เพื่อทำให้เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยที่จะเล่น และช่วยเจ้าหน้าทีในการบ่งชี้เยาวชน ที่ต้องการความช่วยเหลือแบบพิเศษ เช่นการให้คำปรึกษา”

นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่า “มีสัญญะที่แตกต่ากันในเด็กแต่ละคน เช่นบางคนเป็นใบ้ และไม่พูดอีกต่อไป บางครั้งเด็กๆอาจขี้อาย เพราะว่าเป็นคนขี้อาย แต่บางคนเมื่อก่อนไม่อาย แต่เดี๋ยวนี้กลับอาย ซึ่งเราต้องดูเป็นรายบุคคล”

ไม่ใช่เด็กทุกคนจำเป็นต้องได้รับการปรึกษา แต่บางคนที่ได้รับผลกระทบจากบาดแผลจึงได้รับคำปรึกษา แต่กระบวนการทางจิตวิทยาอาจต้องเวลาหลายทศวรรษ

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก ไม่ปรากฏชื่อผู้พิมพ์. Photo: Children Caught In The Crossfire Of Rohingya Crisis




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท