อนุทิน 154934


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

วัฒนธรรมแห่งการยกเว้นโทษกับชนชั้นนำปกครองไทย: สัมภาษณ์กับพวงทอง ภวัครพันธุ์ ตอนที่ 6

วัฒนธรรมแห่งการไม่เอาผิดที่ฝังรากลึกในสังคมไทย (ต่อ)

“มีตัวอย่างหนึ่งที่เราพบเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากำลังก่ออาชญากรรมอยู่ (ในภาพถ่ายและวิดีโอ) พวกเราเห็นหน้าคนที่เกี่ยวขข้องด้วย คนที่เกี่ยวข้องก็ไม่ใช่คนของรัฐด้วยซ้ำไป เช่น คนที่ใช้เก้าอี้ตีคนที่ถูกแขวนคอ ลูกเสือชาวบ้าน (Village Scouts) ที่ตีคนด้วยท่อมไม้ และบางคนอยู่ในม็อบ แต่เราไม่เคยถามคำถาม หรือไม่เคยแม้แต่จะตั้งคำถาม ว่าคนที่อยู่ในภาพสมควรได้รับโทษทางกฎหมายหรือไม่? หากเราไปค้นหาพวกเขา และเราไม่เคยถามว่ากฎหมายนิรโทษกรรมยุติธรรมแล้วหรือไม่?

มรดกของวัฒนธรรมการไม่เอาผิดส่งผลต่อรุ่นลูกรุ่นหลานก็คือว่าหากคนมีอำนาจในสังคม หมายถึง มีเครือข่าย (network) และผู้สนับสนุน พวกนี้ไม่จำเป็นต้องโปร่งใสก็ได้ (account) กล่าวในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ สังคมไทยได้รับความรู้ที่ผิดและไม่ถูกต้องว่าใครก็ตามแต่หากสร้างเครือข่าย และมีเส้นสาย (connections) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเกราะเพื่อป้องกันตัว (protective armor) จากกฎหมาย และไม่จำเป็นต้องโปร่งใส ความคิดนี้ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงการเมืองในระดับชาติเลยทีเดียว

แปลและเรียบเรียงจาก

ไม่มีชื่อผู้แต่ง. Culture of impunity and the Thai ruling class: Interview with Puangthong Pawakapan 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท