อนุทิน 154896


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

วัฒนธรรมแห่งการยกเว้นโทษกับชนชั้นนำปกครองไทย: สัมภาษณ์กับพวงทอง ภวัครพันธุ์ ตอนที่ 1

พวงทอง ภวัครพันธุ์ เป็นนักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ และเป็นคณะกรมผู้จัดงานในงาน “40 ปีวันที่ 6 ตุลาคม: “พวกเราจะไม่ลืม” ได้ให้สัมภาษณ์กับประชาไทเกี่ยวกับวัฒนธรรมแห่งการยกเว้นโทษที่ฝังลึกในสังคมไทย ในทัศนะของเธอ การสังหารหมู่วันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นบาดแผลที่ลึกซึ้ง และเป็นอุปมาที่เห็นดาษดื่นในวัฒนธรรมนี้ (primary metaphor) ซึ่งเกี่ยวพันกับชนชั้นการปกครองอย่างเห็นได้ชัด หลังจากผ่านมาถึง 40 ปี ครอบครัวที่คนในครอบครัวของตนเองถูกฆ่าในวันที่ 6 ตุลาคม ยังคงรู้สึกกลัวอย่างไม่เสื่อมคลาย  และชนชั้นปกครองก็ยังไม่เข้าใจความโมโหหรือความแค้น (anger) ที่ทำให้ประชาชนยังคงเดินออกมาบนถนน

การสังหารหมู่วันที่ 6 ตุลาคม ถูกทำให้ไม่ชัดเจน คลุมเครือ และถูกลืมในสังคมไทย พวงทองเสนอว่าประชาชนจำนวนมากยังคงเห็นภาพชายคนหนึ่งที่ถูกเก้าอี้ทุบในขณะที่ไม่มีชีวิต ในขณะที่เป็นนักศึกษาที่ถูกแขวนในสนามหลวง ในขณะที่มีผู้คนจำนวนมากล้อมรอบยืนจ้องมองดูราวกับเป็นฉากๆหนึ่งในหนัง

ความทรงจำในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ปรากฏในสังคมไทยได้ชัดเจนกว่า 6 ตุลาคม 2519 ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม บ่งชี้ถึงชัยชนะของนักศึกษาและประชาชนในการขับไล่เผด็จการของถนอม-ณรงค์ กิตติขจร และประภาษ จารุเสถียรที่ยืนยงอยู่ในสังคมไทยเป็นระยะเวลายาวนาน รูปแบบของความทรงจำกับเหตุการณ์ทั้งสองมีความแตกต่างกัน เหตุการณ์ 14 ตุลาคม ทำให้สี่แยกคอกวัวในถนนราชดำเนินเกิดขึ้น แต่ 6 ตุลาคม ความทรงจำจะอยู่ที่ประติมากรรมในกำแพงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พวงทองพรรณนาว่าสถานที่ในความทรงจำถูกซ่อนในประตูธรรมศาสตร์นั่นเอง

แปลและเรียบเรียงจาก

ไม่มีชื่อผู้แต่ง. Culture of impunity and the Thai ruling class: Interview with Puangthong Pawakapan



ความเห็น (2)

สูญเสียนักต่อสู้อีกท่านก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวท่าน สุธาชัย ด้วยครับ

ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของอาจารย์ยิ้มด้วยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท