อนุทิน 154213


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

คนที่ประสบผลสำเร็จโดยความสามารถของตนเอง: มายาคติที่แฝงไว้ด้วยความไม่เทียม ตอนที่ 2

ในการเกิดขึ้นของวิกฤตด้านการเงินปี 2008 ผู้คนส่วนใหญ่มองว่าระบบคัดคนที่ความสามารถไม่น่าที่จะใช้การได้จริงๆ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความคิดที่ว่าคุณจะเป็นอะไรก็ได้ หากเธอขยันมากพอ เริ่มเป็นที่กลืนไม่ลง แม้แต่พวกพวกชนชั้นกลางที่ได้รับการพะเน้าพะนอ แต่งานก็เริ่มไม่มี ซ้ำก็ถูกลดคุณค่าลง และถูกกดดันอย่างหนัก หนี้เริ่มเพิ่มมากขึ้น และอาคารที่พักเริ่มผ่อนไม่ไหว

บริบททางสังคม ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาตลอด 40 ปีในแนวทางของเสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) เริ่มถูกทบทวนทางโทรทัศน์ เช่น คนที่เก่งในวิชาเคมีก็ใช่ว่าจะมีการพัฒนาในแนวทางที่ตนจบมา หรือแม้แต่จะอยู่รอด หรือกรรมกรที่สร้างสรรค์ ที่นำเสนอโดยผู้หญิงก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความแน่วแน่ (stability)ของละคร Sex and the City

ในโฉมหน้าของความไม่มั่นคง (instability) ทั้ง May และ Trump พยายามที่จะฟื้นคืนชีพระบบการคัดคนด้วยความสามารถมาเป็นนโยบายขอตนเพื่อที่จะเพิ่มความไม่เท่าเทียมให้เกิดขึ้น (inequality) พวกเขาใช้รหัสทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน (cultural accents) โดยที่ Trump จะใช้สำนวนที่เหยียดผิว (racism) และ เกลียดผู้หญิง (misogyny) แต่ May นำเสนอตนเองเป็นแม่บ้านที่ใจกว้าง แต่ตรรกะทางวัฒนธรรมของทั้งสองมีความเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้ง เช่นหลังจากที่ May ได้รับเลือกเป็นนายกฯแล้ว ก็รีบแจ้นไปหา Trump ทันที ทั้งคู่ซาบซึ้งในเรื่องความไม่เท่ากันเป็นอย่างดี แต่ก็แสดงออกว่าจะสนับสนุนนโยบายระบบคัดคนเก่ง, ทุนนิยม, และชาตินิยม ในฐานะที่เป็นสิ่งแก้ไข ทั้งคู่ต้องการจะสร้างสวรรค์ทางเศรษฐกิจเพื่อคนรวย ในขณะที่ก็ต้องการที่แทรกการตลาดเข้าไปในระบบสวัสดิการ และขยายตรรกะของการแข่งขันในชีวิตประจำวันของทุกคน

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Jo Littler. Meritocracy: the great delusion that ingrains inequality. ………………….



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท