อนุทิน 153898


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

พวกไดโนเสาร์ต้องเผชิญกับความจริง (Dinosaurs must confront reality) ตอนที่ 4

ในเวลาเดียวกัน นักเรียนต้องท่องจำลักษณะ 12 ประการของนักเรียน ลักษณะ 12 ประการนี้ก็มี รักชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์ (ข้อที่ 1) และนับถือผู้อาวุโสกว่า (ข้อที่ 7) นวัตกรรมที่เกิดขึ้น นักเรียนต้องวิจารณ์ (criticise), สังเคราะห์ (synthesis), และประเมินค่า (evaluate) แต่สังคมไทยยอมให้นักเรียนวิจารณ์, สังเคราะห์ และประเมินค่าได้จริงๆเหรอ?

การคิดเชิงวิจารณญาณเกี่ยวข้องกับการท้าทายความเป็นปกติ (norm) ทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูข้อเท็จจริงต่างๆ, แยกแยะข้อเท็จจริง, นำมันกลับมาอยู่ในรูปแบบใหม่ๆ, และประเมินค่ารูปแบบใหม่ๆนั้น

กล่าวให้ง่ายก็คือการถามว่า คุณคิดอะไรเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว? และให้อิสรภาพในการให้ความคิดเห็น (opinion) ซึ่งอาจไม่เหมือนคุณก็ได้ ชั้นเรียนที่เน้นการจำในประเทศไทยแทบจะไม่เคยเกิดสภาพแวดล้อมให้เด็กๆได้คิดอย่างมีวิจารณญาณเลย

ฉันเคยจินตนาการว่ากำลังถามนักเรียนที่มุ่งแต่จะจำคุณลักษณะที่ดี 12 ประการของเด็กดี ให้เธอยกมือแล้วถามว่า ทำไมจึงต้องรักประเทศและครูหละ ในเมื่อนักการเมืองและข้าราชการยังโกงกินกันอยู่?

หรือเพื่อนของเธอที่นั่งอยู่ข้างๆถามว่า “ฉันไม่มีศาสนา ฉันเป็นพวกอศาสนิก (atheist) ทำไมจึงว่าฉันเป็นคนเลวหละ?

หรือนักเรียนที่นั่งอยู่ข้างหน้าต่าง ทันใดนั้นก็ถามว่า ธุรกิจอันนี้เน้นแต่ให้คารวะผู้อาวุโส แล้วพวกนักการเมืองและข้าราชการที่กำลังโกงกินอยู่หละ สมควรต้องไหว้พวกเขาไหม?

นักเรียนดังกล่าวอยู่ในจินตนาการของฉัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาควรอยู่ที่นั่น ฉันไม่กล้าจินตนาการต่อว่าความเจ็บปวดที่พวกเขาต้องมีเพราะการถามคำถามเหล่านั้นให้ปรากฏในวงกว้าง

แปลและเรียบเรียงจาก

Andrew Biggs. Dinosaurs must confront reality.

………………………………



ความเห็น (1)

ค่านิยม 12 ประการท่องกันอย่างเอาเป็นเอาตายครับ..ถามจริงๆผมก็พยายามถามเด็ก..ทำได้กี่ข้อ..เคารพกฎหมาย..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท