อนุทิน 15050


ทรงพล อารมณ์เย็น
เขียนเมื่อ

โครงการสังคมศึกษา

เรื่อง  การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์

 

ผู้จัดทำ                        นายทรงพล  อารมณ์เย็น

ที่มาและความสำคัญของโครงการ

                   จากการทดสอบความรู้พื้นฐานการคิดวิเคระห์ของนักเรียนชั้น ป. 4 จำนวน   70   คน โรงเรียนบ้านคลองหวะ ( ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง ) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต  2   มีนักเรียนที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถึงร้อยละ  75  เป็นที่ไม่น่าพอใจ    ครูผู้สอนจึงคิดค้นหาวิธีแก้ไขปัญหา  โดยการจัดทำเครื่องมือเพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนทั้งห้องในชั้นนี้

 

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนคิดวิเคราะห์ให้กับนักเรียนที่ได้คะแนนจากการทดสอบความรู้พื้นฐาน ซึ่งมีถึงร้อยละ 75.

2.      เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนการสอนวิชาสังคม

3.      เพื่อใช้เป็นสื่อเผยแพร่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมชั้น  ป.  4

 

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

            เนื้อหา    การอ่าน การเขียนคำ และการใช้ภาษาไทย 

            สถานที่  ห้องเรียน ชั้น  ป. 3 โรงเรียนบ้านคลองหวะ( ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง)             

ระยะเวลาศึกษา  วันที่  1 เดือนมิถุนายนพ..2550  -   วันที่  1   เดือนตุลาคม พ..2550

 

อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา

1.      เครื่องเขียน

2.      เอกสารเกี่ยวกับหลักหลักภาษาไทย  วรรณคดีไทย

3.      แหล่งข้อมูล

 

 

วิธีการศึกษา

1.      ทดสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนเรื่อง  การอ่านและการเขียนคำในภาษาไทย

2.      นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบมาหาค่าสถิติ  ร้อยละ   ค่าเฉลี่ย 

3.      สร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำในภาษาไทย

4.      นำข้อมูลมารวบรวม  สรุปผล

 

ผลการศึกษา

            ได้จัดทำแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย  การอ่านและการเขียนคำในภาษาไทย  จำนวน  20   ชุด  แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน  50  ข้อ  นักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าทดสอบก่อนเรียน  จัดทำเอกสารชุดแบบฝึกใช้ภายในโรงเรียนและเผยแพร่ไปยังห้องเรียนอื่น

 
อภิปรายผลการศึกษา

        การเรียนรู้ภาษาที่ถูกต้อง    ต้องยึดกฎเกณฑ์ทางภาษา  ให้ผู้เรียนมีความแม่นยำใน

หลักไวยากรณ์  จึงจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารทั้งในด้าน

การพูด  การอ่าน  และการเขียน  เพราะการเรียนรู้จากกฎเกณฑ์จะนำมาซึ่งความถูกต้องและมั่นคงตลอดไป

 

สรุปผลการศึกษา

            นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องทั้งการอ่านและการเขียน

 
ประโยชน์ที่ได้รับ

1.      ทำให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาไทย

2.      ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษาไทย 

3.      ทำให้ผู้เรียนมีทักษะความรู้เกี่ยวกับหลักภาษาไทยมากยิ่งขึ้น  และมี

ประสิทธิภาพ

            4.  ทำให้ผู้เรียนเกิดความรักและภูมิใจในภาษา ประจำชาติของตนเอง

 

ข้อเสนอแนะ

1.      ทำโครงงานการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง

2.      นักเรียนรวบรวมแบบฝึกแต่ละชุดไว้เป็นรูปเล่ม

                     คร

                                                                                       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

iyu

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

iyu

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท