อนุทิน 149396


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

สิ่งที่สหรัฐไม่ได้เรียนรู้จากการปฏิรูปการศึกษาในฟินแลนด์ ตอนที่ 6

ความยอกย้อนขอความสำเร็จทางการศึกษาในฟินแลนด์ ถึงที่สุดแล้ว ได้มาจากนวัตกรรมในห้องเรียน และการวิจัยเพื่อการพัฒนาในสหรัฐซะเป็นส่วนใหญ่ การเรียนรู้แบบร่วมมือ และการประเมินสมุดสะสมผลงาน (portfolio) คือตัวอย่างที่ได้มาจากอเมริกา แต่นำมาใช้กับโรงเรียนส่วนใหญ่ในฟินแลนด์

สำหรับผู้คนที่มาดูระบบการศึกษาในฟินแลนด์ เหมือนกับว่าเป็นโมเดลที่เป็นไปได้ในการปฏิรูปสำหรับสหรัฐชี้ให้เห็นว่าทั้งสองประเทศมีความแตกต่างกัน ในการเปรียบเทียบกัน จะมีความแตกต่างเพียงข้อเดียวที่สำคัญมากๆ ที่ถูกมองข้ามไป และความแตกต่างข้อนี้สำคัญต่อความเข้าใจว่าเหตุใดทั้งสองประเทศจึงมีความแตกต่างกัน

ในสหรัฐ การศึกษาถูกมองว่าเป็นความพยายามส่วนบุคคล ที่นำไปสู่ความดีของปัจเจก สุดท้ายแล้วการปฏิบัติของนักเรียน และครูจึงเป็นข้อโต้แย้งกันในเรื่องปฏิรูปการศึกษา ในทางตรงกันข้าม การศึกษาในฟินแลนด์ถูกมองว่าเป็นความพยายามเชิงสาธารณะ และสนับสนุนจุดมุ่งหมายเชิงสาธารณะด้วย ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาในฟินแลนด์จึงถูกประเมินมากในเรื่องระบบสามารถให้ความยุติธรรมแก่ผู้เรียนที่แตกต่างได้อย่างไร สิ่งนี้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างอเมริกันที่มัวแต่สอบแบบทดสอบเชิงมาตรฐาน กับฟินแลนด์ที่มีแต่การวัดความสามารถของโรงเรียนในการจัดการกับความแตกต่างของผู้เรียน และความไม่เท่าเทียมทางสังคม สรุปว่าอเมริกาเน้นความสุดยอด และฟินแลนด์เน้นความยุติธรรม

แปลและเรียบเรียงจาก

Valerie Strauss. What the U.S. can’t learn from Finland about ed reform

https://www.washingtonpost.com/blogs/answer-sheet/post/what-the-us-cant-learn-from-finland-about-ed-reform/2012/04/16/gIQAGIvVMTblog.html?tid=ainl


ความเห็น (2)

สรุปว่าอเมริกาเน้นความสุดยอด และฟินแลนด์เน้นความยุติธรรม..... อเมริกาก็สอบ PISA , IEA นิดหน่อยเสมอ ไม่เคยได้อันดับดี ๆเลย แต่ไหนแต่ไรมา แต่โอลิมปิกวิชาการทำได้ดี แต่อเมริกาก็สุดยอดของโลกในเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอื่น ๆแทบทุกด้าน มีคนเก่งมากมายให้ใช้ รวมทั้งไม่กีดกันคนต่างชาติที่อพยพไปอยู่ที่นั่นให้ขาดโอกาสทางการศึกษา หาความก้าวหน้า(เรื่องนี้อนาคตไม่แน่ถ้าดูจากท่าทีของว่าที่ประธานาธิบดี) ในขณะที่ประเทศอื่น ๆแม้กระทั่งรัสเซียในอดีตที่มีคนเก่งสุดยอดแต่มีแห่งละไม่กี่คน ไม่เพียงพอจะสร้างความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่แก่โลกได้ สิ่งนี้ในแง่หนึ่งสะท้อนความไม่เท่าเที่ยมทางการศึกษา..Equity in Education(บางคนเรียกว่า ความยุติธรรม)ของประเทศอื่น ๆที่มีมากกว่าเมื่อเทียบกับอเมริกา

อเมริกาก็สอบ PISA , IEA นิดหน่อยเสมอ..... หมายถึงได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาตินิดหน่อยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท