อนุทิน 149247


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

สิ่งที่สหรัฐไม่ได้เรียนรู้จากการปฏิรูปการศึกษาในฟินแลนด์ ตอนที่ 2

ในขณะที่สหรัฐกำลังมองหาการปฏิรูประบบโรงเรียนเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเริ่มที่จะมองหาไปที่ตัวอย่างจากต่างประเทศ เพื่อมาดูว่าอะไรที่ทำแล้วได้ผล หรือไม่ได้ผล การบริหารในปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจกับระบบโรงเรียนในต่างประเทศ ดังนั้นการประชุมทางการศึกษาที่จัดขึ้นในสหรัฐจึงมีการนำเอากรณีตัวอย่างจากต่างชาติเข้ามา พันธสัญญาที่เริ่มออกนอกกรอบนี้เกิดขึ้นมาได้ 2 ปีแล้ว เมื่อ Arne Duncan ที่เป็นเลขานุการด้านการศึกษาใส่ไว้ในรายงานชื่อ ผู้ปฏิบัติที่เข็มแข็ง และการปฏิรูปที่ประสบผลสำเร็จ: บทเรียนจาก PISA สำหรับสหรัฐอเมริกา นำเสนอโดยกลุ่มนักวิเคราะห์ (ฉันเองก็เป็นหนึ่งในนั้น) พร้อมกับ OECD (องค์กรเพื่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนา) หนึ่งในผู้ปฏิบัติที่เข็มแข็งในนั้นคือประเทศของฉัน หรือฟินแลนด์

ในระหว่างช่วยทศวรรษ ฟินแลนด์กลายมาเป็นที่ดูงานในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาร่วมกันทั้งโลก เหตุผลหลักๆก็คือความสำเร็จในแบบทดสอบระหว่างชาติในเรื่องการอ่าน, เลข, และวิทยาศาสตร์ หรือที่รู้กันในนาม PISA (โปรแกรมการประเมินนักเรียนนาๆชาติ) ตั้งแต่มีรายงานของ OECD ฉันได้ไปเป็นแขกของผู้ว่าการ, นักบริหารการศึกษา, ครู, และผู้ปกครองในสหรัฐ อย่างไรก็ตามฉันไปเป็นแขก เพราะประชาชนต้องการที่ฟังถึงการศึกษาในฟินแลนด์ และความสำเร็จของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาต้องการจะเข้าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาในฟินแลนด์


แปลและเรียบเรียงจาก

Valerie Strauss. What the U.S. can’t learn from Finland about ed reform




ความเห็น (1)

เข้ารับการอบรมมาแล้ว..ถ้านำมาฝึกและร่วมกันหลายหน่วยงานก็คงพัฒนาการคิดอย่างหลากหลาย..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท