อนุทิน 149035


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ความลำบากคือการเรียนรู้: ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ตอนที่ 7 (ตอนสุดท้าย)

ไม่ใช่ตะวันตกและตะวันออก

นี่ไม่ได้หมายความว่าวิธีการตีความของตะวันออกในเรื่องความยุ่งยากด้านการเรียนรู้ หรืออะไรอื่นก็ตามจะดีกว่าการตีความของตะวันตก และตะวันตกจะดีกว่าตะวันออก แต่ละวัฒนธรรมมักมีจุดแข็งและจุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งทั้งสองวัฒนธรรมย่อมรู้ดีอยู่แล้ว พวกชาวตะวันตกมักจะมีข้อกังวลใจว่าลูกของตนจะไม่สามารถเอาชนะเด็กจากเอเชียที่เก่งในหลายๆวิชา โดยเฉพาะเลข กับวิทยาศาสตร์ Li กล่าวว่านักการศึกษาจากประเทศทางตะวันออกก็มีข้อกังวลใจเช่นเดียวกัน

Li ยังได้บันทึกไว้ว่า “เด็กๆของเราไม่มีความสร้างสรรค์ ลูกๆของเราไม่มีความเป็นปัจเจกบุคคล พวกเขาเป็นเพียงหุ่นยนต์ เธอจะได้ยินนักการศึกษาจากประเทศทางตะวันออกมักจะกล่าวถึงข้อกังวล”

แล้วเป็นไปได้ขนาดไหนที่หนึ่งวัฒนธรรมสามารถที่จะรับหรือหยิบยืมจากอีกวัฒนธรรมหนึ่ง หากพวกตนเห็นว่าอีกวัฒนธรรมหนึ่งสามารถผลิตผลที่ดีกว่าได้?

ทั้ง Stigler และ Li คิดว่าการแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ยาก แต่ที่คิดแบบต่างกันก็อาจช่วยเหลือได้ “พวกเราสามารถเปลี่ยนทัศนะในการเรียนรู้ และมุ่งเน้นไปที่ความยุ่งยากในการเรียนรู้ได้หรือไม่?” Stigler บอกว่า ได้

Stigler ยกตัวอย่างว่า ห้องเรียนในประเทศญี่ปุ่น ที่เขาไปศึกษามา ครูมักจะออกแบบงานที่เหนือความสามารถของเด็กๆ ดังนั้นนักเรียนจึงมีโอกาสสำหรับการมีประสบการณ์กับความยุ่งยากกับบางสิ่งที่เหนือความสามารถของตน ต่อมาเมื่อเด็กๆสามารถทำงานได้อย่างดีมากๆแล้ว ครูจะบอกเด็กๆว่าพวกเขาทำมันได้เพราะการทำงานที่หนัก และทนต่อความยุ่งยาก

Stigler กล่าวว่า “และฉันคิดเรื่องนี้ในโรงเรียนมากๆ พวกเราไม่ได้สร้างประสบการณ์ที่ต้องทนต่อความยุ่งยากน้อยเกินไป แต่เราสามารถทำมันได้”

ในตอนนี้ เขาและนักจิตวิทยาคนอื่นๆ กำลังทำเรื่องนี้อยู่ แต่ก็ยังกล่าวว่า มีความแตกต่างที่ขยายใหญ่มากขึ้นจนเกินการทำให้เข้ากันได้ ความแตกต่างนั้นก็คือ ทั้งสองวัฒนธรรมรู้หรือยังว่าตัวตนของพวกเขาคืออะไร?



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท