อนุทิน 149018


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ความลำบากคือการเรียนรู้: ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ตอนที่ 6

Li พูดว่า “การเน้นจะอยู่ที่กระบวนการอดทนผ่านการท้าทายนาๆประการ และการไม่ละทิ้ง สิ่งนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จ”

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้น เพราะวิธีการที่คุณสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการทนความลำบากกับบางสิ่งที่ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่จริงของคุณ

เห็นได้ชัดเจนว่าหากการทนทุกข์จะบ่งชี้ถึงความอ่อนแอ หรือการขาดสติปัญญา สิ่งนี้ทำให้คุณรู้สึกแย่ และยากที่จะยอมรับมัน แต่หากการทนทุกข์มีนัยยะถึงความเข็มแข็ง หรือความสามารถที่จะสยบข้อท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นตอนที่คุณพยายามที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เธอก็จะยอมรับมันไว้

และ Stigler รู้สึกถึงโลกแห่งความจริง และมันง่ายที่จะเห็นผลของการตีความที่แตกต่างกันของความยากลำบากในการเรียนรู้

“พวกเราทำการศึกษากับนักเรียนระดับหนึ่งมาหลายปี พวกเราจึงได้ไปหาและให้คำถามเลขที่ไม่มีคำตอบกับนักเรียน ต่อมาพวกเราจึงได้วัดนานแค่ไหนที่พวกเขาแก้ปัญหาก่อนจะไม่ทำต่อ”

เด็กๆชาวอเมริกันใช้เวลาในการแก้ปัญหาโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30 วินาที และบอกพวกเราว่า พวกเขาแก้ปัญหานี้ไม่ได้

แต่นักเรียนชาวญี่ปุ่นแก้ปัญหานี้ประมาณหนึ่งชั่วโมง และในที่สุดพวกเราจึงได้หยุดกระบวนการ โดยการบอกว่าเวลาหมดแล้ว และพวกเราบอกว่าปัญหานี้ไม่มีคำตอบ และนักเรียนได้มองมาที่พวกเราด้วยท่าทางที่ว่า พวกเราเป็นสัตว์แบบไหนกัน

Stigler กล่าวว่า “คิดถึงพฤติกรรมแบบนี้ที่ครอบคลุมเราทั้งชีวิตสิ นั่นหนะปัญหาที่ใหญ่จริงๆ”

แปลและเรียบเรียงจาก

Alix Spiegel. Struggle Means Learning: Difference in Eastern and Western Culture.

https://ww2.kqed.org/mindshift/2012/11/15/struggle-means-learning-difference-in-eastern-and-western-cultures/



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท