อนุทิน 148890


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การมีมุมองแบบเกลียดผู้หญิงในพุทธศาสนาที่ไม่มีใครพูดถึง ตอนที่ 9 (ตอนสุดท้าย)

พุทธศาสนาดี และฮินดูเลว (ต่อ)

แน่นอนว่าพวกเราอาจโต้เถียงได้ว่าชาวพุทธที่มีการศึกษาในระดับสูง (น่าจะหมายถึงอรรถกถาจารย์) เคยเป็นพราหมณ์มาก่อนเปลี่ยนเป็นชาวพุทธ ดังนั้นจึงน่าจะนำปิตาธิปไตยของฮินดูมาอยู่ในพุทธศาสนา จริงๆแล้วพระพุทธเจ้าไม่มีจุดมุ่งหมายเช่นนั้น พวกเรายืนยันได้ว่าพระเวท และมีเพียงพระเวทเท่านั้นที่มีคติแบบเกลียดผู้หญิง สิ่งนี้ทำให้เราคิดได้แต่ว่าพุทธดี แต่ฮินดูไม่ดี ที่เราสามารถพบในงานเขียนทางวิชาการแบบอาณานิคม และหลังอาณานิคม

ความเงียบในเรื่องลัทธิเกลียดผู้หญิงที่ค่อยๆคืบคลานมาที่คัมภีร์ศาสนาพุทธ และสามารถย้อนกลับไปหาพระพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่รู้สึกได้ งานวิจัยในเรื่องนี้แพร่หลายไปทั่ง แต่ถูกจำกัดในวงวิชาการ เช่น หนังสือชื่อ Buddhism after Patriarchy โดย Rita Gross และ Bull of a Man โดย John Powers แต่มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการอธิบายเกินเลยไปกว่าปิตาธิปไตย มากกว่าจะเน้นเฉพาะที่ ที่เป็นดังนี้เพราะนักวิชาการรู้สึกโกรธหรือฉุนเฉียว และอายที่ข้อเท็จจริงมาแทรกแซงการรับรู้ของตนเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

การละทิ้งเรื่องทางเพศ ซึ่งหมายถึงการละทิ้งผู้หญิง เพื่อจุดประสงค์ที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรัสรู้, จิตวิญญาณอันสูงส่ง, หรือการรับใช้ชาติ ได้กลายมาเป็นโมเดลที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะอยู่ในลัทธิ และองค์การทางการเมือง เช่น Rashtriya Swayamsevak Sangh มันเป็นสิ่งที่ทรงเสน่ห์ และกล้าหาญในฐานะที่เป็นสิ่งบ่งชี้สูงสุดในความเป็นชาย และความบริสุทธิ์ เราสามารถแกะรอย อย่างน้อยก็ในความคิดที่แบ่งปันไปไกลในพระวินัยที่สั่งสอนโดยพระพุทธเจ้า ผู้ที่ละทิ้งภรรยา แม้ว่าหล่อนจะไม่เห็นชอบด้วยก็ตาม

แปลและเรียบเรียงจาก

Devdutt Pattanaik. There’s a misogynist aspect of Buddhism that nobody talks about.

http://qz.com/586192/theres-a-misogynist-aspect-of-buddhism-that-nobody-talks-about/


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท