อนุทิน 147821


ทิพย์วิมล ดำริ
เขียนเมื่อ

ลูกอีสาน ผู้แต่ง คำพูน บุญทวี
เรื่องย่อ
วิถีชีวิตของชาวอีสานที่ถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ของผู้เขียนครั้งยังเป็นเด็ก ทั้งในเรื่องการดำเนินชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งผู้เขียนบรรยายได้อย่างเห็นภาพและใช้ภาษาตรงไปตรงมา ทำให้คนอ่านได้สัมผัสและเข้าใจถึงวิถีชีวิตของคนอีสานมากยิ่งขึ้น โดยหนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมรางวัลซีไรท์ดีเด่นประเภทนิยายประจำปี พ.ศ. 2522
เด็กชายคูนอาศัยอยู่ในชนบทของภาคอีสานกับครอบครัว ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งกันดาร สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยแก่การเพาะปลูก ทำให้หลายครอบครัวโยกย้ายออกไปในแถบลุ่มแม่น้ำซึ่งอุดมสมบูรณ์มากกว่า ชาวบ้านที่ยังอาศัยอยู่ที่นั่นก็ต้องอดทนและปรับตัวเพื่อความอยู่รอดโดยใช้ภูมิปัญญาต่างๆ เข้ามาช่วย อย่างบ้านของคูนเองก็เดินทางไปจับปลาที่แม่น้ำชีมาถนอมอาหารทั้งปลาร้า ปลาส้มกินกัน ซึ่งแต่ละครั้งที่ไปก็ใช้เวลาถึง 20 กว่าวัน เนื่องจากในสมัยนั้นการเดินทางยังไม่สะดวกเช่นทุกวันนี้
นอกจากเรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่แล้ว ผู้เขียนยังเล่าถึงน้ำใจไมตรีที่มีระหว่างกันของชาวอีสานด้วย โดยตอนหนึ่งของหนังสือกล่าวว่า "...เรื่องน้ำใจ พ่อของคูนเคยสอนคูนเหมือนกันว่าคนมีชื่อนั้นคือ คน รู้จักสงสารคนและช่วยเหลือคนตกทุกข์ ถ้าไม่มีสิ่งของช่วย ก็เอาแรงกายช่วย และไม่เลือกว่าคนๆ นั้นจะอยู่บ้านใด อำเภอใด"

ข้อคิด
แม้ว่าชุมชนที่คูนอยู่จะแห้งแล้งกันดาร แต่คนในชุมชนกลับไม่แล้งในน้ำใจ แม้ว่าพวกเขาไม่ได้ร่ำรวยเงินทอง แต่เขาก็เอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความจนไม่ได้แปลว่าเราจะช่วยเหลือคนอื่นไม่ได้ เพราะน้ำใจไม่ต้องใช้เงิน
นอกจากนี้ยังทำให้เราได้เห็นถึงความลำบากของคนอีสานในสมัยก่อนว่าต้องอดทนปรับตัวต่อสู้เพื่อความอยู่รอดอย่างมาก แต่ก็ยังมีความสุขได้ ขณะที่สมัยนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ช่วยให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้น แต่หลายคนกลับไม่มีความสุข



ความเห็น (1)

ความจนไม่ได้แปลว่าเราจะช่วยเหลือคนอื่นไม่ได้ เพราะน้ำใจไม่ต้องใช้เงิน .....ชอบประโยคนี้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท