อนุทิน 147771


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ความสามารถในเชิงธรรมชาติในการเรียนภาษาที่ 2 เป็นไปอย่างไรบ้าง (What about natural aptitude for second language learning?) ตอนที่ 5

อันดับสอง งานของ Carroll ทำในช่วงที่วิธีการสอนจะเน้นที่การสอนไวยากรณ์, การสอนฟัง-พูด (audio-lingual approaches) และการฝึกโครงสร้าง (structural drilling) เมื่อมีทางเลือกอื่นๆ เช่นมีวิธีการแบบธรรมชาติ ดังในงานของ Krashen และวิธีการสอนเพื่อการสื่อสารแบบยุโรปเข้ามาอีก ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาจึงไม่อยู่ในนิยามของ Carroll อีกต่อไป แนวทางใหม่ๆ จะคล้ายๆกับการเรียนภาษาที่ 1 ซึ่งความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคลในแง่ของภาษาจะมีการเน้นที่น้อยลง ถ้าการเรียนภาษาที่ 2 เกิดขึ้นในระดับจิตใต้สำนึกแล้วหละก็ ดังนั้นความสามารถในการบ่งชี้กระสวนทางไวยากรณ์ (grammatical pattern) ในแบบทดสอบจะพยากรณ์ความสำเร็จในอนาคตได้อย่างไร (นี่เป็นประเด็นหากโรงเรียนต้องการจะทำแบบทดสอบเพื่อดูว่านักเรียนมีความสามารถอยู่ระดับไหน (baseline test) เมื่อมาเข้าโรงเรียนนี้ จะต้องมีจุดประสงค์ที่สามารถตรวจสอบได้ (accountability purposes))

อย่างไรก็ตาม สมควรกล่าวไว้ด้วยว่ามีนักวิชาการบางคนยังถือว่าการทดสอบสามารถพยากรณ์ความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะไหนแง่ของสภาพการสอนในโรงเรียน และบริบทที่มีตัวป้อนแบบธรรมชาติก็ตาม (naturalistic, input-based contexts)

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Steve Smith. What about natural aptitude for second language learning?

http://frenchteachernet.blogspot.fr/2016/06/what-about-natural-aptitude-for-second.html


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท