อนุทิน 147703


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ความสามารถในเชิงธรรมชาติในการเรียนภาษาที่ 2 เป็นไปอย่างไรบ้าง (What about natural aptitude for second language learning?) ตอนที่ 3

งานของนักจิตวิทยา ที่ชื่อ J.B. Carroll

Carroll เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในการวิจัยแนวนี้ เขาเริ่มต้นศึกษาความสามารถในภาษาต่างประเทศในทศวรรษ 1950 และเขาได้รับการอ้างอิงเป็นอย่างมาก ร่วมกับ Stanley Sapon เขาได้ออกแบบแบบทดสอบขึ้นมาฉบับหนึ่ง (Modern Language Aptitude Test – MLATs) ซึ่งพยายามทำนายลักษณะในอนาคตของผู้เรียน (future performance) Carroll สร้างองค์ประกอบ 4 อย่างของโมเดลเรื่องความสามารถ ดังนี้

1. ความสามารถในการเข้ารหัสเสียง (Phonemic coding ability) นั่นคือ ความสามารถในการถอดรหัสเสียงที่ไม่คุ้นเคย, เก็บความรู้ในความทรงจำและเอามาใช้ได้ตามต้องการ

2. ความอ่อนไหวทางไวยากรณ์ (Grammatical sensitivity) นั่นคือ ความสามารถในการบ่งชี้หน้าที่ทางไวยากรณ์ (grammatical functions) ในประโยค หรือการพูด (utterances)

3. ความสามารถในการเรียนรู้ภาษาแบบปรนัย (Inductive language learning ability) นั่นคือ ความสามารถในการสกัดโครงสร้างที่เป็นประโยคและระบบคำในตัวอย่างของภาษา

4. ความทรงจำแบบเชื่อมโยง (Associated memory) นั่นคือ ความสามารถในการสร้างการเปรียบเทียบคำระหว่างภาษาที่1 และภาษาที่ 2 ได้

ในการทำให้สิ่งนี้ง่ายขึ้น พวกเราอาจสรุปสิ่งนี้ได้อย่างง่ายๆว่า “ การมีหูที่ดี, ความสามารถในการบ่งชี้ และการใช้กระสวนแบบต่างๆ (pattern) รวมทั้งการมีความทรงจำที่ดี! สิ่งนี้น่าจะไม่ขัดใจสำหรับครูๆโดยส่วนใหญ่

องค์ประกอบข้างบนเป็นพื้นฐานสำหรับแบบทดสอบความสามารถ และมีสหสัมพันธ์กับการแสดงออกทางภาษาด้วย (performance)

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Steve Smith. What about natural aptitude for second language learning?

http://frenchteachernet.blogspot.fr/2016/06/what-about-natural-aptitude-for-second.html


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท