อนุทิน 147568


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การวิเคราะห์ภาษา ตอนที่ 4

รูปทรงและการออกเสียง (form and phonology)

ตอนนี้มีการให้ความสนใจอีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับรูปทรง มีงานวิจัยเสนอว่า การขาดการเน้นในเรื่องรูปทรงอาจนำไปสู่ความผิดพลาดที่เกิดความเคยชิน (fossilized errors) ในขณะเดียวกันการพิจารณาระบบคำ (lexical items) และคำที่ปรากฏอยู่ร่วมกัน (chunk) นำไปสู่วิธีการการเพิ่มการตระหนักรู้ (a consciousness-raising)ในเรื่องของรูปแบบ รวมทั้งการสังเกตภาษาในบริบทด้วย

ไม่ว่าการนำเสนอภาษาจะเป็นแบบโบราณ หรือใช้วิธีการการเพิ่มการตระหนักรู้ (a consciousness-raising) และไม่ว่าภาษานั้นจะนำเสนอเป็นครั้งแรกหรือเพื่อการทบทวนก็ตาม ข้างล่างนี้คือสิ่งที่ควรพิจารณา

1. ส่วนประกอบของคำพูด (Parts of speech) ระบบคำบ่อยครั้งที่เกิดมาจากองค์ประกอบทางภาษามากกว่า 1 อย่าง ยกตัวอย่างเช่น กริยาที่มีหลายคำ (multi-word verbs) จะประกอบไปด้วยกริยา, คำบุรพบท, และparticle เช่นคำว่า get on with บางครั้งก็อาจมีคำที่ใช้อยู่คู่กัน (collocations) ก็ได้

2. ตัวสะกด (spelling) ความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ กับแบบอเมริกัน

3. สิ่งที่ไปตามกฎ กับสิ่งที่ไม่ไปตามกฎ (regularity and irregularity)

5. ลำดับของคำ และโครงสร้าง (word order and structures) เช่นเป็นกริยาแบบต้องการกรรมหรือไม่ต้องการกรรม กริยาตัวนี้ต้องตามด้วย to infinitive หรือ gerund

6. การออกเสียง (pronunciation) การลดเสียง, รูปฟอร์มคำถาม, การใช้คำถามแบบ tag

แปลและเรียบเรียงจาก

Steve Darn. Analyzing Language. http://www.teachingenglish.org.uk/article/analysing-language?utmsource=facebook&utmmedium=social&utm_campaign=bc-teachingenglish


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท