อนุทิน 146713


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
เขียนเมื่อ

"ระบบวิจัยประเทศชาติล้าหลัง ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ"

ผมเห็นด้วยว่าการวิจัยของประเทศเป็นสิ่งสำตัญต่อการพัฒนาประเทศ และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) ให้เรามีหยิบสอยใช้ได้เอง

โดยไม่ต้องเป็นอาณานิคมทางปัญญากับชาติตะวันตก เป็นสิ่งที่ต้องเร่งสร้างหรือ ช่วยกันทุกฝ่ายอย่างเร่งด่วน

แต่สิ่งที่พบในระบบยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ผมเห็นว่า ล้าหลัง และไม่ทันกับสิ่งที่ รัฐบาลมุ่งหน้าในการพัฒนาประเทศ เช่น THAILAND 4.0 เพราะว่า

-ระบบการขอทุนและงบประมาณการวิจัย เป็นวิธีการที่ถอยหลังไม่ได้เดินหน้า

ในแต่ละปี เราทำ โครงการ หรือ Research proposal เช่น ปี นี้ เดือน มิย-กค 59 เริ่มทำโครงการ หรือข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอทุนและงบประมาณแผ่นดินสำหรับการวิจัย

แต่ ทุนและงบประมาณแผ่นดินที่จะได้รับให้เริ่มทำวิจัยกันจริง ๆ คือ ปีงบประมาณ 2561 ( อนุมัติ ตค. ปี '60 กว่าจะเริ่มลงมือทำ ก็ ปี '61) ผลการวิจัยเสร็จ ก็เกือบจะเข้าปี '62

-ผมเลยนึกไม่ออกว่า ผลการวิจัยจะทันสมัยได้อย่างไร เพราะสิ่งที่ศึกษาและทำข้อเสนอการวิจัยมันคือปัจจุบัน กว่าจะได้วิจัย การทบทวนวรรณกรรมก็ล้าสมัยไป เกือบ ปีแล้ว

ผลการวิจัย ที่เสร็จมาก็ล้าสมัยไปอีก 1-2 ปี ยิ่งไม่มีความรู้ของชาติเราเอง ต้องหยิบยืมเขามาใช้เราก็ยิ่งช้าเข้าไปอีก

-องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยหรือ การไปทดสอบ ขยายความรู้ ประเทศเราจะทันสมัยได้อย่างไร และเราท่านก็ทั้ง ๆ ที่เรารู้ว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้ปฏิวัติทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งองค์ความรู้ ซึ่่งทำให้สิ่งรอบตัวเราล้าสมัยและยากในการหยิบความรู้ไปใช้เพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจของชาติ

ดังนั้นหากไม่ปรับเปลี่ยน ระบบขอทุนและงบประมาณแผ่นดินสำหรับการวิจัยของชาติ เราก็ยากที่่จะมีองค์ความรู้ใหม่ที่เราอยากได้ และเอามาใช้ได้ทันต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ


บันทึกความคิดที่แตกต่าง

20-06-2559




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท