อนุทิน 14527


กวิน
เขียนเมื่อ

024 : บทกวีแห่งสายรุ้งของอินเดียนแดง @ 192083 โดย  บัญชา ธนบุญสมบัติ

สวัสดีครับพี่ชิว ผมลองเอาโคลงที่แต่งนี้ ไปให้เพื่อนที่จบด้านอักษรศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษช่วยตรวจดู เธอบอกว่า "ทำใมแปลได้ห่วยมาก" ก็เลยพูดแก้เก้อกะเธอไปว่า "การแปลมันมีหลายระดับนะจ๊ะ ฮาๆเอิ๊กๆ" สำหรับทรรศนะของผมนั้นมีอยู่ว่า อินเดียแดง เก่งเรื่อง สะกดรอย ก็เลยลองคิดว่าตัวเองเป็นอินเดียแดง

ชาวอินเดียแดงสมัยก่อนคงอยากรู้ว่า รุ้งเกิดขึ้นได้อย่างไร ไฉนจึงมีสีสันงดงามนัก และที่ปลายโค้งรุ้งนั้น จะไปทอดจรดตรงจุดไหนของแผ่นดิน และคงมีชาวอินเดียแดงหลายๆ รุ่น พยามที่จะเดินทางออกตามหาจุดทอดจรดของโค้งรุ้งบนแผ่นดิน แต่เมื่อไปแล้วคงไปลับไม่กลับมาอีกเลย หรือไม่ก็ไปแล้ว แต่ไปไม่ถึงสักทีเพราะรุ้งหายไปเสียก่อน ฉะนั้นการเดินทางตามหาจุดทอดจรดของโค้งรุ้งบนแผ่นดิน คงถือเป็นวีรกรรมที่ชายชาวอินเดียแดงพึงกระทำสืบๆ กันมา วีรกรรมความกล้าหาญนี้ต่อมาจึงถูกนำมาแต่งไว้เป็นเพลงขับร้องประจำเผ่า การตามหา จุดทอดจรดของโค้งรุ้งบนแผ่นดิน นั้นต้องอาศัยความกล้าหาญ และความเชื่อมั่น อีกทั้งยังต้องต่อสู้ฝ่าฟันกับอุปสรรคนานัปการ

ถึงแม้นจะไม่ได้พบจุดทอดจรดของโค้งรุ้งบนแผ่นดิน แต่ประสบการจากการเดินทางนั้น ก็นับว่าเป็นสิ่งที่น่าอภิรมย์ยิ่ง ใครก็ตามที่อาศัยความกล้าหาญ และความเชื่อมั่น อีกทั้งยังได้ต่อสู้ฝ่าฟันกับอุปสรรคนานัปการให้ลุล่วงไปได้ แม้นจะไม่ได้พบกับจุดทอดจรดของโค้งรุ้งบนแผ่นดินด้วยตา แต่เขาก็ย่อมได้พบ จุดทอดจรดของโค้งรุ้งบนแผ่นดิน ด้วยใจของเขาแล้ว

คนอินเดีย(ตัวจริง) ที่ไม่ใช่อินเดียแดง ก็คงเชื่อแบบนี้ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (หม่อมเจ้ารัชนี แจ่มจรัส นามปากกา น.ม.ส.) ทรงนิพนธ์ร้อยกรอง แทรกคติความเชื่อของชาวอินเดียโบราณ ไว้ใน นิทานเวตาล ความว่า

มาณวกะฉัน ๘

จง จร(ะ) เที่ยว     เทียว บท(ะ) ไป
พง พน(ะ) ไพร     ไศละลำเนา
ดุ่ม บท(ะ) เดิน      เพลิน จิต(ะ) เรา
แบ่ง ทุข(ะ) เบา     เชาวนะ ไว


ฉบัง ๑๖

ชายใดไม่เที่ยวเทียวไป    ทุกแคว้นแดนไพร
มิอาจประสบพบสุข
ชายใดอยู่เหย้าเนาทุกข์    มิด้นซนซุก
ก็ชื่อว่าชั่วมัวเมา ??



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท